ความสัมพันธ์ของสัญญาเช่า ด้านผู้เช่า ต่อมูลค่าตลาด ก่อนและหลังการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (ฉบับปี พ.ศ. 2562) กรณีศึกษา กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 50 ตัวแรก

Main Article Content

วิยะดา ปิงเมือง
พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัญญาเช่า ด้านผู้เช่า ต่อมูลค่าตลาด ก่อนการปฎิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสัญญาเช่า ด้านผู้เช่าต่อมูลค่าตลาดหลังการปฎิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 50 ตัวแรก จำนวน 132 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงิน ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2560 – 2562 เป็นช่วงก่อนการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า และช่วง พ.ศ. 2563 – 2565 เป็นช่วงหลังการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 รวม 24 ไตรมาส และได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า สินทรัพย์สิทธิการใช้ (ROU) พบความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าตลาดในช่วงหลังการปฏิบัติตาม TFRS 16 มูลค่าตามบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย และกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน พบความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าตลาด ทั้งช่วงก่อน และหลังการปฏิบัติตาม TFRS 16แต่มูลค่าสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม ไม่พบความสัมพันธ์กับมูลค่าตลาด ทั้งช่วงก่อน และหลังการปฏิบัติตาม TFRS 16 ดังนั้นรายงานทางการเงินภายใต้ สัญญาเช่า ด้านผู้เช่า ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ได้สะท้อนความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ และคณะ (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าภายใต้ IFRS 16 เรื่อง สัญญาเช่า : หลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์. หลักสูตรบัญชีดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Ahmed, A.S., Kilic, E. & Lobo, G.J. (2006). “Does Recognition versus Disclosure Matter? Evidence from Value-Relevance of Banks’ Recognized and Disclosed Derivative Financial Instruments”. The Accounting Review, 81(3),567–588.

Beattie, V., Goodacre, A. & Thomson, S. (2000). Recognition versus Disclosure : An Investigation of the Impact on Equity Risk Using UK Operating Lease Disclosures. Journal of Business Finance & Accounting, 27(9&10), 1185-1224.

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making. 4 th ed. New York: John Wiley and Son.

Chebaane, S., & Othman, H. B. (2014). The impact of IFRS adoption on value relevance of earnings and book value of equity: the case of emerging markets in African and Asian regions. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 145, 70-80.

Deloof, M. & Verschueren, I. (1999). Are Leases and Debt Substitutes? Evidence from Belgian Firms. Financial Management, 28(2), 91-95.

Duke, J.C., Hsieh, S-J. & Su, Y. (2009). Operating and Synthetic Leases : Exploiting Financial Benefits in the Post-Enron Era. Advances in Accounting,25(1), J28-39.

Giner, B. & Pardo, F. (2018). The Value Relevance of Operating Lease Liabilities : Economic Effects of IFRS 16. Australian Accounting Review,28(4),496–511.

Hansson Brusewitz, M., & Pettersson, E. (2020). The value relevance of IFRS 16 on the Swedish market. Master’s Thesis 30 credits Department of Business Studies Uppsala University.

IASB (2016). IFRS 16 Leases, Effects Analysis International Financial Reporting Standard. Available. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566,จาก https://www.ifrs.org/-/media/project/leases/ifrs/published-documents/ifrs16-effects-analysis.pdf [2020-02-11].

Karğin, S. (2013). The Impact of IFRS on the Value Relevance of Accounting Information : Evidence from Turkish Firms. International Journal of Economics and Finance, 5(4),71-80.

Kouki, A. (2018). IFRS and Value Relevance: A Comparison Approach before and after IFRS Conversion in the European Countries. Journal of Applied Accounting Research, 19(1), 60–80.

Mulford, C.W. & Gram, M. (2008). The Effects of Lease Capitalization on Various Financial Measures : An Analysis of the Retail Industry. Journal of Applied Research in Accounting and Finance, 2(2), 3-13.

Okafor, G. T., Ogbuehi, A., & Anene, O. N. (2017). IFRS adoption and the value relevance of accounting information in Nigeria: AnEmpirical Study. Journal of Modern Accounting and Auditing, 13(10), 421-434.

Paglietti (2009). Investigating the Effects of the EU Mandatory Adoption of IFRS on Accounting Quality: Evidence from Italy. International Journal of Business and Management, 4(12),3-18.

Singh, A. (2012). Proposed Lease Accounting Changes: Implications for the Restaurant and Retail Industries. Journal of Hospitality & Tourism Research, 36(3),335-365.