ปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นในการตัดสินใจเลือกครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษ ตำบลลาดสวาย จังหวัดปทุมธานี โดยกลยุทธ์ 5A
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองประถมศึกษาตอนต้นในการตัดสินใจเลือกครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษ ตำบลลาดสวาย จังหวัดปทุมธานีเพื่อเปรียบเทียบตัวแปรอิสระทางด้านประชากรศาสตร์กับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองประถมศึกษาตอนต้นในการตัดสินใจเลือกครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษ ตำบลลาดสวาย จังหวัดปทุมธานีโดยกลยุทธ์ 5A โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การทดสอบทีและการทดสอบเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญมากที่สุดคือด้านการสนับสนุนเพราะผู้ปกครองให้ความสนใจกับการบอกต่อของผู้ปกครองท่านอื่น และการได้รับการรีวิวจากผู้ปกครองท่านอื่นและปัจจัยที่น้อยที่สุดคือด้านการรับรู้เพราะผู้ปกครองไม่เน้นการเข้าถึงรับรู้ความข่าวสารเกี่ยวกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษทางออนไลน์น้อยกว่าการพูดคุยบอกต่อโดยตรงจากผู้ปกครองท่านอื่น เพศของผู้ปกครองนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นมีผลทำให้ปัจจัย การตัดสินใจของผู้ปกครองในการตัดสินใจเลือกครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษด้านการรับรู้โดยมีค่านัยความสำคัญอยู่ที่ .019 จึงให้ตัวแปรด้านเพศเกิดความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชาย โดยที่ผู้ปกครองเพศหญิงให้ความสนใจ ทราบเกี่ยวกับข้อมูลของครูผู้สอนพิเศษภาษาอังกฤษโดยการพยายามเข้าถึงข้อมูลต่างๆผ่านสื่อต่าง ๆที่เกี่ยวกับครูสอนพิเศษภาษาอังกฤษมากกว่าผู้ปกครองเพศชายเพราะทั้งนี้เนื่องมาจากเพศหญิงในสังคมไทยเป็นเพศที่มีบทบาทด้านการเป็นแม่อบรมสั่งสอนบุตรหลานของตนเองจึงทำให้เพศหญิงเป็นเพศที่บทบาทมากในด้านการเลือกครูสอนภาษาอังกฤษ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลชลี ธูปะเตมีย์ และประกอบ คุณารักษ์. (2565). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การนำนโยบายและแนวทางการใช้กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของยุโรปไปปฏิบัติในโรงเรียนมัธยมศึกษา.วารสารการวัดผลการศึกษา,39 (105), 161-174.
กัลยาณี ภู่เจริญ. (2564). การสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21:จากอดีตจนถึงปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564, จาก https://rb.gy/15zg5.
คุณาพร วรรณศิลป์. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 195–212.
ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย. (2563). การทบทวนนโยบายการศึกษาภาษาอังกฤษของไทย. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(1). 86-97.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พล เหลืองรังสี และสายฝน วิบูลรังสรรค์. (2563). แนวทางการประเมินโครงการในโรงเรียน.วารสารการวัดผลการศึกษา, 37(102),118-125.
ลักษณ์พร เข้มขัน และ จิติมา วรรณศรี. (2564), รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 298-309.
อนุศิริ ชิณศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิค4W1H ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเสาธงนอก. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2566, จาก http://www.thaiedresearch.org/home/authorview/19035.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2563). เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Sari, Z. E. (2021). Difficulties and Strategies in Learning English: An Analysis of Students from English and Non-English Education Department in Indonesia.In 4th International Conference on Sustainable Innovation 2020-Social, Humanity, and Education (ICoSIHESS 2020). (313-331). Atlantis Press.