การสื่อสารการตลาดดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กสำหรับอาหารอัตลักษณ์ประจำถิ่นในธุรกิจครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก

Main Article Content

มธาวี จำเนียร
กรกฎ จำเนียร
มนกาจ สิงหพันธ์
ยศยง เซ็นภักดี

บทคัดย่อ

การสื่อสารการตลาดดิจิทัลในปัจจุบันมีความสำคัญต่อการจำหน่ายสินค้าในทุกประเภทธุรกิจ ในบทความชิ้นนี้ คณะผู้เขียนมีความสนใจและต้องการนำเสนอวิธีการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่จะช่วยส่งเสริมอาหารอัตลักษณ์ประจำถิ่นของแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์ มีความแตกต่างกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แม้วิธีการสื่อสารการตลาดดิจิทัลมีลักษณะคล้ายคลึงกับการสื่อสารการตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์สินค้าทั่วไป แต่ทว่า การสื่อสารการตลาดดิจิทัลอาหาร อัตลักษณ์ประจำถิ่นจะมีการนำอัตลักษณ์ ความเป็นเฉพาะพื้นที่ และความโดดเด่นมาสร้างความน่าสนใจมากกว่า ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาหารอัตลักษณ์ประจำถิ่นมักเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจในครัวเรือน ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารอัตลักษณ์ประจำถิ่นของตน การทำการตลาดจะต้องคำนึงถึงส่วนแบ่งทางการตลาดและการเลือกตลาดเป้าหมาย ผู้ประกอบการจะต้องมีความเข้าใจในแบรนด์และกลยุทธ์การสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารอัตลักษณ์ประจำถิ่นของตน ควรมีความเข้าใจ และสามารถเลือกแพลตฟอร์มและสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อเล่าเรื่องและสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ของตนได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งคณะผู้เขียนพบว่า ประเด็นปัญหาสำคัญคือ ผู้ประกอบการไม่รู้ว่าจะนำเสนอเนื้อหาใดที่จะสะท้อนอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของตน นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรติดตามสถานการณ์ กระแส และประเมินผลเพื่อการพัฒนาทักษะในการสื่อสารการตลาดดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2565). "Soft Power" ชูความเป็นไทยผ่านสินค้าและบริการวัฒนธรรม ทางเลือกนักธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/1008281

ชูชัย สมิทธิไกร. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทยพีบีเอส. (2566). "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น" ปี 2566 หลายเมนูชื่อแปลก ต้องลองสักครั้ง. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/331241.

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร. (2562). 3 จุดอ่อน “OTOP ไทย” กับ 5 เคล็ดลับความสำเร็จ 20 แบรนด์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.marketingoops.com/ reports/industry-insight/decoding-the-success-of-thai-local-brand/

บุษราภรณ์ พวงปัญญา สัญญา เคณาภูมิ และยุภาพร ยุภาศ. (2559). การจัดการสินค้าวัฒนธรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษลุ่มน้ำโขง. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 14(2), 77-87.

ประทีป ช่วยเกิด. (2565). อาหารไทย “SOFT POWER ไทย สู่ SOFT POWER โลก” สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://rsdi.kku.ac.th/?p=2564

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2563). Good Brand & Grand Image ปั้นแบรนด์ฮิต ให้ติดตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2) .นนทบุรี: เอ็กซ์เพิร์ท คอมมิวนิเคชั่นส์.

ภครัต จูดคง และศรายุธ ทองหมัน. (2564). กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดต่อการตัดสินใจบริโภคอาหารพื้นเมือง ของนักท่องเที่ยวชาวไทย Generation Y ในจังหวัดภูเก็ต. วารสารบริหารธุรกิจ, 11(1), 67-79.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร ภาคภูมิ ภัควิภาส และเบญญาภา กันทะวงศ์วาร. (2559). พฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการท่องเที่ยววิถีไทยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย, วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(3), 127-139.

วันชัย ธรรมสัจการ อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์ ปรีดี โชติช่วง อังคณา ธรรมสัจการ และสมฤดี สงวนแก้ว. (2565). ทุนชุมชนและศักยภาพในการจัดการตนเองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น, วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 14(1), 22-32.

สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย. (2566). อาหารไทย ขึ้นแท่นอันดับ 17 อาหารที่ดีที่สุดในโลก ปี 66. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก https://nbt2hd.prd.go.th/th/content/category/detail/id/241164.

อโณทัย งามวิชัยกิจ. (2563). การตลาดดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 789 ดิจิตอลเพรส.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2566). รณรงค์การตลาดเพื่อสังคมระดับชุมชน.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แอดวานซ์ไอเซอร์วิส. (2565). Digital Marketing คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2565, จาก https://www.advancedis.co.th/en/blog/digital-marketing-คืออะไร-สำคัญอย่างไรต่อธุรกิจออนไลน์.

Caywood, C. L. (2015). Corporate Reputation and the Discipline of Integrated Marketing Communications in Carroll, C. E. (ed.), The Handbook of Communication and Corporate Reputation. (pp.94-103). Malaysia: Vivar Printing Sdn Bhd.

Keller, K. L. (2003). Understanding Brands, Branding and Brand Equity. Interactive marketing, 5(1), 7-20.

Kotler, P. (2002). Marketing Management. (Millenium Edition). New Jersey: A Pearson Education Company.

Phway Nu Aye, P. (2022). 7CS Marketing Mix, Customer Satisfaction and Customer Satisfaction and Customer Engagement in Myanmar Citizens Bank. Retrieved from January 20, 2022, from scholar.google.co.th/scholar?q=7CS+MARKETING+ MIX,+CUSTOMER+SATISFACTION+

AND+CUSTOMER+ENGAGEMENT+IN+MYANMAR+CITIZENS+BANK&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholart