ความสัมพันธ์ของมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานทางการเงินที่มีต่อมูลค่าตลาดส่วนเพิ่มของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกลุ่มยั่งยืน

Main Article Content

พลอยพิชชา ดีอาษา
พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานทางการเงินที่มีต่อมูลค่าตลาดส่วนเพิ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มยั่งยืน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2561-2565 จำนวน 77 บริษัท ผลการวิจัยพบว่า มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตลาดส่วนเพิ่มและสำหรับผลการดำเนินงานทางการเงินพบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) เงินปันผลต่อหุ้น (DPS) และอัตรากำไรต่อรายได้ (PM) มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตลาดส่วนเพิ่มของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นยั่งยืนเช่นเดียวกัน ในขณะที่กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) อัตราส่วนราคาหุ้นกับกำไรต่อหุ้น (PE) และราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี (PBV) ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าตลาดส่วนเพิ่มของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ แสนสุรวงค์,พรจิรา แสนสุริวงค์,รัตติกาล จันทร์ปาน,นิรมล เนื่องสิทธะ และจินตนา จันทนนท์.(2565). การเปรียบเทียบความสัมพันธ์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,2(1), 31-40.

ณิชานันท์ แอดสกุล. (2558). ตัววัดผลการดําเนินงานที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ และมูลค่าเพิ่มทางการตลาด จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะบัญชีมหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ดวงรัตน์ เรืองอุไร. (2555).การบริหารการเงิน. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมุ่งสร้างคุณค่าตลาดทุน.สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566,จาก https://www.setsustainability.com.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). กลุ่มดัชนีสะท้อนความเคลื่อนไหวราคาหุ้นยั่งยืน (SETESG). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://www.set.or.th.

ปวีณา คำพุกกะ. (2557). วิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุรเดช กิตติวรรณโชติ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ห่งประเทศไทยที่ถูกคัดเลือกให้อยู่ในกล่มุหุ้นยั่งยืน.ค้นคว้าอิสระหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อตินันท์ เจติยา,นิยตา กาวีวงศ์และปิติมา ดิศกุลเนติวิทย์.(2565). ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ อัตราส่วนทางการเงิน และมูลค่าเพิ่มทางการตลาดของบริษัท จดทะเบียนในกลุ่มดัชนีเซ็ต 100. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ,10(1),24-34.

Affde Marketing (2565). มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (EVA) – ความหมาย ขั้นตอน และการคำนวน. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.affde.com/th/.

Andrea Quintiliani. (2017) .The Relationship between the Market Value Added of SMEs Listed on AIM Italia and Internal Measures of Value Creation The Role of Corporate Strategic Planning. Retrieved March 25, 2024 https://www.sciedupress.com.

Yan, Q., & Wang, Y. (2016). REVA-based Value Analysis on Listed Companies of Power Industry. Retrieved March 25, 2024, from https://www.atlantis-press.com.