การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ ทำนาย–สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E)

Main Article Content

ธนภัทร บุญเพ็ชร์
อาภาพรรณ ประทุมไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกตอธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 70 คนเครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติบรรยาย และการทดสอบค่าที(t) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks และวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) หลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) ร่วมกับสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Solidworks มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิราภรณ์ ปุณยวัจน์พรกุล และวิไลพร ลักษมีวาณิชย์. (2561). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์วิดีโอความเร็วสูง กรณีศึกษาการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), 71-84.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนําไปใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชญานษิฐ์ สุวรรณกาญจน์ และอัญชลี ทองเอม. (2563). การพัฒนาความสามารถเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชาญวิทย์ คำเจริญ และดารกา พลัง. (2562). การใช้สื่อจำลองโต้ตอบเสมือนจริง: การเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 13-24

ณัฏฐา ผิวมา. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์. บทความวิชาการ วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(ฉบับพิเศษ),1-15.

ดนัยศักดิ์ กาโร. (2562). ปฏิวัติการสอนสู่ห้องเรียน 4.0 ด้วย Google for Education. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวริศร์ วงศ์สุวรรณ และชัยรัตน์ โตศิลา. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้กลวิธีทำนาย สังเกต อธิบายที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความใฝ่รู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 33-48.

พงศกร ลอยล่อง เยาวเรศ ใจเย็น และปวริศา จรดล. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 119-117.

พงษ์พันธุ์ ฤกษ์ขุมทรัพย์, จรัสศรี เสือทับทิม และปฏิภาณ อร่ามวาณิชย์. (2560). การออกแบบและสร้างกังหันลมแนวตั้งขนาดกระทัดรัด. วารสารวิชาการปทุมวัน, 7(9), 59-67.

ภารดี รัตนจามิตร, สิงหา ประสิทธิพงศ์ และเสาวรส ยิ่งวรรณะ. (2564). การพัฒนาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE): ทฤษฎีจากการปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี, 32(2), 53-70.

ยลดากุมารสิทธิ์ และอัจฉรีย์ พิมพิมูล (2560. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรม, 12(1), 129-136.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ . (2564). ระบบประกาศผลสอบ O-NET. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566,จาก https://www.niets.or.th/th/.

อภิรมย์ ชูเมฆา และดลหทัย ชูเมฆา. (2560). ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจในการเรียนวิชาชิ้นส่วนเครื่องจักรกลด้วยการใช้สื่อการสอนด้วยโปรแกรม SolidWorks. SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY, 3(2), 1-9.

อัศวี เมฆิยานนท์. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI: Group investigation) เรื่อง ระบบสุริยะ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วารสารวิชาการแสงอีสาน, 16(2), 84-100.

อุรารัตน์ อ่อนทอง และน้ำเพชร นาสารีย์. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย(POE) เรื่อง สมบัติทางกายภาพของวัสดุที่ส่งเสริมสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(2),144-157.

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ในการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(2), 131-145.

Haysom, J., & Bowen, M. (2010). Predict- Observe- Explain Activities EnhancingScientific Understanding. America: The National Science Teachers Association.

White, R. T and Gunstone, R.F. (1992). Probing Understanding. London: Falmer Press.