การยกเลิกโทษประหารชีวิต : ศึกษากรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ จากการวางเพลิง

Main Article Content

อัญชัญ ยุติธรรม
วนาภรณ์ พันธุ์พฤกษ์
ภูมิ โชคเหมาะ
สกุนา ทิพย์รัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การยกเลิกโทษประหารชีวิต ศึกษากรณีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์จากการวางเพลิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักสิทธิมนุษยชน และการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กับการลงโทษประหารชีวิตตามหลักกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศ ของประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายการลงโทษประหารชีวิตในกรณีวางเพลิงเผาทรัพย์ตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น กับกฎหมายไทย และเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโทษที่มีความเหมาะสมกับฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์จากการวางเพลิง  โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า การบังคับใช้บทลงโทษประหารชีวิตกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 218 นั้นไม่สอดรับกับกฎหมายมหาชนระหว่างประเทศทางด้านการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งการใช้มาตรการลงโทษที่สูงเกินว่าเหตุย่อมเป็นการไม่สมเหตุสมผลระหว่างความผิดกับบทลงโทษ ด้วยเหตุที่ความผิดในลักษณะนี้ไม่ใช่ความผิดอาชญากรรมร้ายแรงที่สุดตามหลักสากล จึงต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย การลงโทษประหารชีวิตของไทยให้มีความสอดคล้องกับหลักสากล ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ การแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 โดยยกเลิกบทลงโทษประหารชีวิตที่เป็นบทลงโทษสูงสุดในกรณีเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์ออก และบัญญัติบทลงโทษสูงสุดเป็นการจำคุกตลอดชีวิต และเพิ่มเติมโทษปรับ เพื่อให้การกำหนดบทลงโทษมีความเหมาะสม และเป็นไปตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตติ ติงศภัทย์. (2536). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ตุลาการ ขยันขันเกตุ. (2564). การลงโทษประหารชีวิตของสังคมไทยในคดีอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ที่สุดตามแนวทางสหประชาชาติ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 12(ฉบับเพิ่มเติม 1),57-97.

พักตร์สุดา พิมพโม้. (2564). การกำหนดเหตุฉกรรจ์ : ศึกษาความรับผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ที่มีความสำคัญ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล. (2549). โทษประหารชีวิตในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : มาสเตอร์เพรส.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2564). มนุษยนิยม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย.วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์,4(3),63-91.

หยุด แสงอุทัย. (2514). เรื่องการลดอาชญากรรมโดยการออกกฎหมายกำหนดแนวทางให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษในนิติศาสตร์และการต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

Alston, Philip. (2011). Report of the Special Rapporteur on extrajudicial, summary or arbitrary executions. UN. Human Rights Council.

Amnesty International Thailand. (2563). รายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตปี2562 (ภาพรวมการประหารชีวิตทั่วโลกลดลง). สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2566,จาก http://www.amnesty.or.th/latest/news/787.

Schabas, William A. (2002). The Abolition of the Death Penalty in international Law 3rd ed. United Kingdom: Cambridge University Press.

Vold, George B. and Thomas J. Bernard. (1986). Theoretical Criminology, 3rd ed. New York: Oxford University Press.