ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา กรณีคุกคามทางเพศ : ศึกษากรณีการสะกดรอยตาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญา กรณีการคุกคามทางเพศในรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม (2) ศึกษาเปรียบเทียบหลักเกณฑ์ของกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญา กรณีการคุกคามทางเพศในรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตามในประเทศไทยกับเครือรัฐออสเตรเลียและประเทศอังกฤษ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหากฎหมายความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตาม (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดในการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตาม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการจากเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศโดยการสะกดรอยตามมุ่งให้ความสำคัญถึงผลกระทบและการคุ้มครองผู้ถูกคุกคาม (2) กฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศของประเทศไทยเป็นเพียงความผิดลหุโทษ ส่วนเครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศอังกฤษมีการกำหนดความหมาย ลักษณะ พฤติกรรม และการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายจากการคุกคามทางเพศโดยวิธีการสะกดรอยตาม รวมถึงบทลงโทษของการฝ่าฝืนความคุ้มครองผู้ถูกคุกคามไว้อย่างชัดเจน (3) การยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ให้การคุกคามทางเพศเป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ร่างดังกล่าวก็ยังไม่ครอบคลุมปัญหาการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม ต่างจากเครือรัฐออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรได้มีกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศรูปการสะกดรอยเฝ้าติดตามเป็นการเฉพาะ(4) เสนอให้มีการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อบังคับใช้ในกรณีการคุกคามทางเพศรูปแบบการสะกดรอยเฝ้าติดตาม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลชนก สุริยกุล ณ อยุธยา. (2566). พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับกำหนดโทษปรับเป็นพินัยในความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด. กลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองควบคุมวัตถุเสพติด.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน. (2564). แนวการศึกษาชุดวิชากฎหมายอาญาและอาชญาวิทยาชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 3).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2565). หลักพื้นฐานทางกฎหมายปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
รัฐสภา. (2567). ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..... . สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก
https://www.parliament.go.th/section77/survey_detail.php?id=352.
โรงพยาบาลอากาศอำนวย. (2565). คู่มือแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก http://akathospital.com/docpublish/list/1
วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์. (2566). อาญาพิสดารเล่ม 2. (ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2566). กรุงเทพมหานคร: หจก. แสงจันทร์การพิมพ์.
สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. (2566). STOP SEXUAL HARSSMENT. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://www.instagram.com/stucon.mahidol/p/Co6CkyXrNBT/?img_index=1.
Amarintv. (2567). ล่วงละเมิดทางเพศ เมื่อเกิดขึ้น ต้องรับมืออย่างไร เพื่อให้อยู่ต่อไปได้. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2567, จาก https://www.amarintv.com/article/detail/67079.
That PBS. (2565). สสส.พบหญิงไทยถูกทำร้าย-ละเมิดท่างเพศวันละมากกว่า 7 คน. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/313423.
The ACTIVE Thai PBS. (2566). เปิดสถิติปี 2566 เหยื่อคุกคามทางเพศเพิ่มขึ้น เยาวชนไทยยังเสี่ยงภัยรอบด้าน.สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567, จาก https://theactive.net/news/public-health-20231228/.