การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 17(2) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว (2) ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสาธารณรัฐฝรั่งเศส (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมาย (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขกฎหมาย การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารโดยอาศัยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ พระราชบัญญัติ รวมทั้งเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและเป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด การกำหนดเพิ่มอัตราโทษ กรณีการกระทำความผิดซ้ำ และผู้มีอำนาจการเปรียบเทียบปรับ ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว มุ่งเน้นให้การบังคับใช้กฎหมายมีความแน่นอน รวดเร็วและเสมอภาค (2) เมื่อเปรียบเทียบกฎหมาย พบว่า ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายกลาง ในคดีความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวส่วนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐบัญญัติแห่งสหพันธ์ว่าด้วยการกระทำผิดทางปกครอง เป็น “กฎหมายกลาง”เพื่อใช้ในการพิจารณาและกำหนดโทษสำหรับความผิดที่ไม่ร้ายแรง และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ไม่มีการตรากฎหมายกลางไว้เป็นการเฉพาะ (3) เมื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายพบว่า ประเทศไทยสูญเสียอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ไม่มีบัญชีฐานความผิดและอัตราโทษที่ใช้บังคับให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และถูกจำกัดตัวบุคคลผู้มีอำนาจการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรุงเทพมหานคร. (2567). แนวทาง วิธีการ และขั้นตอนการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย กรณีความผิดตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก https://webportal.bangkok.go.th/citylaw/page/main/6268/การปรับเป็นพินัย.
คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย. (2566). การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ตามกฎหมายที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกรุงเทพมหานคร เรื่องเสร็จที่ 1503/2566. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567,จาก https://comment.ocs.go.th/main/search?q=1503%2F2566.
คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย. (2567). การเทียบตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย การส่งคำสั่งปรับเป็นพินัย และการดำเนินการอื่นในกรณีที่มีการผิดนัดการผ่อนชำระค่าปรับเป็นพินัย เรื่องเสร็จที่ 84/2567. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567,จาก https://comment.ocs.go.th/main/search?q=84%2F2567.
คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย. (2567). การเทียบตำแหน่งพนักงานเทศกิจระดับชำนาญงานเพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 เรื่องเสร็จที่ 218/2567. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567,จาก https://comment.ocs.go.th/main/search?q=218%2F2567.
ธำรงลักษณ์ ลาพินี, (2566). คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567,จาก https://multi.dopa.go.th/legal/news/cate1/view233.
พัชรา พุกเศรษฐี. (2564). การปรับเป็นพินัยแทนการลงโทษปรับทางอาญาและปกครองของประเทศไทย. วารสารบทความทางวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 5(3), 5-9.
วรรณพงศ์ วิไลรัตน์. (2566). สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567. จาก https://multi.dopa.go.th/legal/news/cate1/view247.
ศรันยา สีมา. (2566). ร้อยเรื่องเมืองไทย เรื่อง โทษปรับเป็นพินัย. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2567,จาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2566-apr2.
สายใจ เกษสุวรรณ. (2564). ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ..... จุลนิติ, 19(3). 67-81.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2566). บันทึกคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ตามกฎหมายที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกรุงเทพมหานคร เรื่องเสร็จที่ 1503/2566. หน้า 2-9.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2567). บันทึกคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การเทียบตำแหน่งข้าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย การส่งคำสั่งปรับเป็นพินัย และการดำเนินการอื่นในกรณีที่มีการผิดนัดการผ่อนชำระค่าปรับเป็นพินัย เรื่องเสร็จที่ 84/2567. หน้า 1-4.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2567). บันทึกคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เรื่อง การเทียบตำแหน่งพนักงานเทศกิจระดับชำนาญงานเพื่อแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 เรื่องเสร็จที่ 218/2567. หน้า 1-3.
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. (2565). กฎหมายน่ารู้ ตอนที่ 369 : ขี่รถจักรยานยนต์บนทางเท้ามีความผิดตามกฎหมาย ใครแจ้งเบาะแสได้เงินค่าปรับด้วย. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก https://www.moj.go.th/view/71249.