การตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมืองไทย

Main Article Content

รัฐชฎา ฤาแรง
ศิริพงษ์ โสภา
ณรงค์ กระจ่างพิศ
เกรียงไกร กาญจนคูหา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี ศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการตรวจสอบนโยบายของพรรคการเมืองไทยจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันพรรคการเมืองมีการกำหนดนโยบายที่เน้นประชานิยมแบบให้เปล่า เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนเลือกพรรคของตน ซึ่งบางนโยบายหากได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินของประเทศอาจเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้งกฎหมายที่มีในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 57 กำหนดให้ พรรคการเมืองต้องจัดส่งนโยบายและข้อมูลงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินการ และผลกระทบของนโยบายต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการตรวจสอบ ดังนั้นจึงควรกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง จัดส่งนโยบายของพรรคการเมืองให้กระทรวงการคลังตรวจสอบในกรณีที่มีความเห็นว่า นโยบายนั้นมีการใช้เงินเป็นจำนวนมาก และไม่แจ้งที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการอย่างชัดเจน เพื่อดูความเป็นไปได้ของการดำเนินการตามนโยบายหากพรรคการเมืองนั้นได้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เข็มทอง รุ่งเรือง. (2567). พรรคการเมือง. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2567, จาก http://wiki.kpi.ac. th/index.php?title.

จิรโชค วีรสุข สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ์. (2567). พรรคการเมือง. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567, จาก http://old-book.ru.ac.th/e-book/p/PS103/chapter10.pdf.

ไทยพับลิก้า. (2566). วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายหาเสียงพรรคการเมือง. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2567. จาก : https://thaipublica.org/2023/04/responsible-election02-impact-of-campaign-policies/.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2563). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2565). การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมือง. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ นิพนธ์ พัวพงศกร. (2566). ข้อสังเกตต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2566. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2567, จาก https://tdri.or.th/2023/02/political-partiess-policies-overview/.

อนุฤทธิ์ เกิดสินธ์ชัย. (2567). หลักนิติธรรมกับพรรคการเมือง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=1297.

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธ์. (2567). จับตาเลือกตั้งอังกฤษ 2024 พลิกดูนโยบายพรรคแรงงานที่กำลังก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาลใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2567, จาก https://www.the101.world/uk -general- election-2024-labour-party-policy/.

Gaddie, K., and Evans, J. (2021). A systems approach to understanding community power in the debate over confederate monument, Social Science Quarterly, 102(3).

Mettler, S., and Soss, J. (2004).The consequences of public policy on democratic citizenship: Bridging policy studies and mass politics. Perspectives on Politics, 2(1).