การพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนบ้านคีรีวงจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ศึกษาวิถีชีวิตแบบพี่งตนเองในลักษณะการเกื้อกูลพึ่งพาธรรมชาติ และแนวทางการพัฒนาวิถีชีวิตชุมชนแบบพึ่งตนเอง ชุมชนบ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวทางการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์วิถีชีวิตชุมชน พื้นที่วิจัย คือชุมชนบ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นโดยธรรมชาติ ผู้นำกลุ่มอาชีพ ประชาชนที่ประสบความสำเร็จการประกอบอาชีพ และกลุ่มนักท่องเที่ยว รวมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านคีรีวง เริ่มมีราษฎรเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2366 โดยการพึ่งตนเองอยู่กับธรรมชาติ การดำรงชีพโดยการพึ่งพาอาศัยป่าธรรมชาติด้วยการเก็บหาของป่าที่มีอยู่เช่น ทุเรียน สะตอ ลางสาด มังคุด เป็นต้น เพื่อปรุงเป็นอาหารดำรงชีวิต และนำมาขายโดยไม่ทำลายธรรมชาติ การไปมาติดต่อใช้การเดินเท้า หาสู่กัน ต่อจากนั้นมีการพัฒนาด้วยการทำสวนผลไม้ลงในพื้นที่ไม่กว้างในลักษณะ “สวนสมรม” ประกอบด้วย สวนทุเรียน สวนมังคุด สวนเงาะ สวนลางสาด สวนจำปาดะ เป็นต้น โดยแนวทางการพัฒนาทางราชการได้มาพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้กับชุมชนได้ไปมาติดต่อกับภายนอก และได้ขนส่งผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาด การพัฒนายังไม่หยุดยั้งจนปัจจุบันชุมชนบ้านคีรีวง มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่างๆ ไว้รองรับประชาชนภายนอกที่เข้ามาท่องเที่ยว ดูวิถีชีวิตคนในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกษฎา เมฆเรือง, เดโช แขน้ำแก้ว, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, และ จิตติมา ดำรงวัฒนะ. (2563). วิถีน้ำวิถีบก : การให้บริการความรู้ด้านวิถีชีวิตชุมชนคนระโนด กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ระโนด ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(1), 66-82.
โกมินทร์ สุขอุ่น. (2565). การจัดการชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านบางสาน ตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(6),292-309.
ครรคิตร สิริพูนทรัพย์. (2561). กลยุทธ์ในการบริหารจัดการชุมชนพึ่งตนเองในอนาคต. Journal of Modern Learning Development, 3(2), 29-39.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2559). ชุมชนแห่งการพัฒนา : พื้นที่ต้นแบบการพึ่งตนเอง บริบทบ้านหนองจิก ตำบลหนองยาง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบท : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.).
ธันยชนก ปะวะละ นุจรี ใจประกอบ และทนงศักดิ์ ปันสินธุ์. (2562). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.สาขาวิชาเศรษฐศาสตรธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พรรณี บัวเล็ก. (2565). วิถีชีวิตของคนในคลองบางเขน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 16(1), 162-177.
พระมหาภานุพงษ์ คุณยุตโต (ดีวรรณา). (2564). ผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน จังหวัดจันทบุรี. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 16(58), 34-45.
ศุภณัฐ เทียนทอง (2566). นิราศสุนทรภู่: ภาพสะท้อนวิถีชีวิตชุมชนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. Journal of MCU Buddhasothorn Review, 3(1), 56-70.
สำราญ จูช่วย. (2564). น้ำในวิถีชีวิตชุมชนริมคลองบางกอกน้อยตอนบน จังหวัดนนทบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(3), 240-254.
อติวัส ศิริพันธ์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
Dudley Seer (1969). The Meaning of Development, International Development Review. 11, 3-4.
Myrdal, Gunnar. (1964). An International Economy. New York: Happer&Row
Streeten, Paul. (1972). The Frontiers of Development studies. London : Macmillan.