Manutsayasat Wichakan

The Manutsayasat Wichakan is a biannual academic journal, published in two issues each year: the January-June issue, and the July-December issue.

Through the publication of this journal, the Editorial Board of the Faculty of Humanities, Kasetsart University, aims to promote distinguished works of lecturers, researchers, academics, students, and any interested individuals, and to encourage knowledge exchange in humanities and related disciplines.

The Editorial Board welcomes submissions of the following manuscripts, either in Thai or in English: research articles, non-research academic articles, review articles, or book reviews. Each contribution must address issues in humanities or related disciplines, such as language studies, linguistics, language learning and teaching, translation, literature, folklore, , philosophy and religion, communication arts, information science, music, performing arts, arts and tourism.

The submitted manuscripts must not have been published in any other academic journals, or be under the consideration of any other academic journals. Conference articles that have been revised specifically for publication, however, are eligible.

Each submitted manuscript will be double-blind reviewed by at least three experts. The decision of the Editorial Board is final.

In the case of successful submission, the Editorial Board will inform the author of any changes or revisions that have to be made. The author then needs to edit the manuscript and send it back to the Editorial Board within an agreed timeframe.

The author should submit the manuscript in the APA format through the journal’s website.

The opinions apparent in each published article are strictly of its respective author; the Faculty of Humanities, Kasetsart University, and the Editorial Board do not necessarily agree with and hold no responsibility to such opinions.

All rights to the articles published in this journal belong to the authors and the Faculty of Humanities, and are under the protection of the laws. Reproduction of the content in any form requires direct, written permissions from the author of each article and the Faculty of Humanities.

 

Focus and Scope

The Editorial Board welcomes submissions of the following manuscripts, either in Thai or in English: research articles, non-research academic articles, review articles, or book reviews. Each contribution must address issues in humanities or related disciplines, such as language studies, linguistics, language learning and teaching, translation, literature, folklore, , philosophy and religion, communication arts, information science, music, performing arts, arts and tourism.

The submitted manuscripts must not have been published in any other academic journals, or be under the consideration of any other academic journals. Conference articles that have been revised specifically for publication, however, are eligible.

 

Peer Review Process

Each submitted manuscript will be double-blind reviewed by at least three experts. The decision of the Editorial Board is final.

In the case of successful submission, the Editorial Board will inform the author of any changes or revisions that have to be made. The author then needs to edit the manuscript and send it back to the Editorial Board within an agreed timeframe.

 

Publication Frequency

published in two issues each year

  • Numver 1 January - June
  • Number 2 July - December

 

จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)

วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการตระหนักในการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์บทความเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการจึงได้กำหนดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับวารสารทั้งหมดต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัดและห้ามปฏิบัติในสิ่งที่ขัดต่อหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์โดยเด็ดขาด ดังนี้

 

หน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

  • 1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องพิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารทุกบทความเป็นลำดับแรก โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของบทความหลังผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพบทความเป็นลำดับสุดท้ายก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่

  • 2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องตัดสินใจเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์โดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความแล้ว ต้องยึดหลักความถูกต้องของเนื้อหา เหตุผลทางวิชาการและประโยชน์ต่อวงวิชาการเป็นสำคัญ โดยให้สอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร

  • 3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด รักษามาตรฐานวิชาการของวารสาร ตลอดทั้งบริหารจัดการและพัฒนาวารสารให้คงคุณภาพได้มาตรฐานอยู่เสมอ

  • 4. ห้ามบรรณาธิการและกองบรรณาธิการเปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ซึ่งอยู่ในระหว่างกระบวนการประเมินคุณภาพของผู้ทรงคุณวุฒิ หรือห้ามเปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของบทความที่อยู่ในระหว่างกระบวนการประเมินคุณภาพของผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าในที่ใด ๆ โดยเด็ดขาด

  • 5. ห้ามบรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความหรือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

 

หน้าที่ของผู้เขียนบทความ

  • 1. ผู้เขียนบทความต้องให้การรับรองด้วยตนเองว่าบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์วิชาการเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในที่ใด ๆ

  • 2. ผู้เขียนบทความต้องเตรียมบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ต้องอ้างอิงผลงานของตนหรือของผู้อื่นให้ถูกต้องทุกครั้ง หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตนและต้องระบุไว้ในรายการอ้างอิงท้ายบทความด้วย

  • 3. ผู้เขียนบทความต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่สร้างข้อมูลเท็จ ไม่บิดเบือนข้อมูลอันไม่เป็นจริง ตลอดทั้งไม่นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จในรายงานผลการวิจัย ซึ่งผู้เขียนบทความได้นำมาเสนอเป็นบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร

  • 4. ผู้เขียนบทความที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องไม่ปฏิเสธความเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความที่ได้ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์และต้องไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นในบทความหลังจากได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเรียบร้อยแล้ว

  • 5. ผู้เขียนบทความต้องระบุหรือแสดงหลักฐานการดำเนินการตามหลักจริยธรรม การยินยอมให้เก็บข้อมูล หรือการแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือในสัตว์ทดลอง ประกอบด้วยทุกครั้ง ในกรณีเป็นบทความที่ได้จากผลงานวิจัยซึ่งต้องผ่านกระบวนการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง

 

หน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  • 1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องตระหนักรู้ว่าตนมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์และสาขาที่รับประเมินและต้องประเมินบทความโดยคำนึงถึงคุณภาพของบทความเป็นสำคัญ บนพื้นฐานแห่งหลักการ ความถูกต้องและเหตุผลทางวิชาการแล้วจึงประเมินบทความโดยปราศจากอคติใด ๆ ทั้งสิ้น

  • 2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องระบุผลงานที่สอดคล้องกับบทความของผู้เขียนบทความที่ตนกำลังประเมินด้วย แม้ว่าผู้เขียนบทความมิได้อ้างไว้ในบทความ พร้อมกันนี้ หากตรวจสอบหรือสงสัยในข้อความของผู้เขียนบทความว่ามีการคัดลอกผลงานจากผู้อื่น ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์วิชาการทราบทันทีพร้อมด้วยหลักฐาน

  • 3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาของการประเมินบทความ ตามกรอบระยะเวลาของการประเมินบทความที่วารสารได้กำหนดไว้

  • 4. ห้ามผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเปิดเผยข้อมูลความลับของบทความที่ผู้เขียนบทความส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในระหว่างที่บทความนั้นยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

  • 5. ห้ามผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความทั้งในทางตรงและทางอ้อม ถ้าหากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความเห็นว่าบทความดังกล่าวตนมีส่วนได้ส่วนเสียหรืออยู่ในขอบข่ายแห่งการมีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องรีบแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบ พร้อมทั้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ โดยทันที

 

Open Access Policy

This journal provides immediate open access to its content on the principle that making research freely available to the public supports a greater global exchange of knowledge.

 

Journal History