บทละครรำเรื่องอิเหนา ตอนดะระสาแบหลา พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์: การ “ปรุงบท” และคุณค่า

Main Article Content

ธานีรัตน์ จัตุทะศรี

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาลักษณะการแต่งและคุณค่าของบทละครรำเรื่องอิเหนาพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในฐานะวรรณคดีการแสดง ผลการศึกษาพบว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงนำบทละครในเรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 มาปรับใช้ในการทรงพระนิพนธ์บทละครรำเรื่องนี้เพื่อใช้แสดงละครรำตามแนวทางของพระองค์ โดยวิธีการที่ทรงพระนิพนธ์หรือทรง “ปรุงบท” มี 4 ลักษณะ ได้แก่ ทรงปรับการดำเนินเรื่องจากฉบับรัชกาลที่ 2 ทรงสืบทอดบทร้อง เพลง และการเจรจาบางส่วนจากฉบับรัชกาลที่ 2 ทรงพระนิพนธ์บทร้องรวมทั้งทรงกำหนดเพลงและการเจรจาขึ้นใหม่ และทรงเพิ่มข้อความกำกับการแสดงลงในบท ผลจากการ “ปรุงบท” ดังกล่าว ทำให้บทละครรำฉบับนี้เป็นเรื่องอิเหนาอีกฉบับหนึ่งที่มีคุณค่าทั้งในด้านวรรณคดีและด้านการแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงให้เห็นลักษณะการเล่นละครรำเรื่องอิเหนาในแบบของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแสดงในสมัยรัชกาลที่ 5

Article Details

Section
Research Articles