คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำกริยาแสดงเหตุการณ์การแยกส่วนภาษาไทย

Main Article Content

เกียรติ เทพช่วยสุข
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา

Abstract

บทความนี้ศึกษาคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำกริยาแสดงเหตุการณ์การแยกส่วนของผู้ใช้ภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน ข้อมูลคำกริยาที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากการเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือวีดิทัศน์ที่ออกแบบโดยโครงการวิจัยการจัดประเภทเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันโดยสถาบันภาษาศาสตร์จิตวิทยาแม็กซ์แพลงก์ โดยผู้วิจัยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อช่วยจำแนกประเภทของเหตุการณ์และความสมนัยในการสร้างแผนที่ทางอรรถศาสตร์ของเหตุการณ์การแยกส่วนและศึกษาคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ของคำกริยาที่ใช้ในการพรรณนาเหตุการณ์ จากนั้นจึงวิเคราะห์คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์โดยพิจารณาจากโครงสร้างอาร์กิวเมนต์ของคำกริยาและพฤติกรรมในการปรากฏสลับสกรรมสภาพของคำกริยา ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า คำกริยาแสดงเหตุการณ์เหตุที่ผู้ใช้ภาษาไทยใช้ในการบรรยายเหตุการณ์การแยกส่วนวัตถุจากวีดิทัศน์มีการจัดประเภทตามคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ตามการปรากฏหรือไม่ปรากฏของเครื่องมือ ประเภทของเครื่องมือ ทิศทางและแรงที่ใช้ในการกระทำ และความสามารถในการคาดเดาตำแหน่งที่วัตถุถูกแยกส่วน ส่วนคำกริยาแสดงผล พบว่าคุณสมบัติทางอรรถศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกใช้คำกริยาในเหตุการณ์คือลักษณะทางกายภาพของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงสภาพและการปรากฏหรือไม่ปรากฏของวิธีการและเครื่องมือ ในแง่วากยสัมพันธ์ คำกริยาแยกส่วนในภาษาไทยสามารถถูกจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ คำกริยาแยกส่วนแสดงเหตุการณ์เหตุซึ่งไม่สามารถสลับไปปรากฏในหน่วยสร้างอกรรมได้ คำกริยาแยกส่วนแสดงเหตุการณ์ผลที่ไม่สามารถสลับไปปรากฏในหน่วยสร้างสกรรมการีตได้ คำกริยาสลับการีตกับกระบวนการ และคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างกริยาเรียง

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์