การยอมรับและพฤติกรรมการใช้เน็ตฟลิกซ์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย และการรับรู้ความเพลิดเพลินที่มีต่อทัศนคติในการใช้เน็ตฟลิกซ์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับพฤติกรรมในการใช้เน็ตฟลิกซ์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการเน็ตฟลิกซ์ จeนวน 400 คน โดยการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก (Convenience Sampling) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ทั้งสถิติเชิงพรรณนา (Description Statistic) และ สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) ในการวิเคราะห์ โดยสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30ปี มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และเป็นพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย และการรับรู้ความเพลิดเพลินในการใช้เน็ตฟลิกซ์ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และจากผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย และการรับรู้ความเพลิดเพลินมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทัศนคติต่อการใช้เน็ตฟลิกซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ทัศนคติต่อการใช้เน็ตฟลิกซ์มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้เน็ตฟลิกซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
Article Details
References
จักรพงษ์ สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี กรณีศึกษาการใช้บริการการสื่อสารระหว่างกันผ่านข้อความและรูปภาพแบบทันทีผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรม.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรวัฒน์ วงศ์ธงชัย. (2555). ปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติของ ผู้ใช้งานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จeกัด (มหาชน).
ไทยรัฐออนไลน์. ( 2560). ศึกชิง ‘วิดีโอสตรีมมิง’ คอหนัง-คนรักซีรีส์ ห้ามพลาด เจ้าไหนเด็ดสุด, สืบค้น เมื่อ 4 กันยายน 2561 จาก https://www.thairath.co.th/content/1057770, 4กันยายน2560.
นฤมล ยีมะลี. (2561). การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-word of Mouth) ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์และซีรีส์ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มติชนออนไลน์. (2560). เน็ตฟลิกซ์ เปิดแพ็คเกจใหม่ เปรยเตรียมสร้างคอนเทนต์ไทย. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561 จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_543069.
ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. ( 2561). ปัจจัยพยากรณ์ความตั้งใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 177-190.
Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3), 319-339.
Jarvey N. (2562). Netflix Grows Subscriber Base to 139 Million Worldwide. Retrieved February 12, 2019, from https://www.hollywoodreporter.com/news/netflix-grows-subscriber-base-139-million-worldwide-1176934.
Leesa-nguansuk S. (2561). Netflix casts service far and wide. Retrieved February 12, 2019, from https://www.bangkokpost.com/business/telecom/1430867/netflix-casts-service-far-and-wide.
LIVE-STREAMING. (2561). ท่านรู้หรือไหม Streaming คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561 https://www.obsmoscou.net/รู้ไหม-streaming-คืออะไร/.