อุดมการณ์แฝงในเพลงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองมาอย่างยาวนาน และเพื่อแก้ไขปัญหานี้ กองทัพไทยได้ก่อรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 และได้จัดตั้งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ขึ้น เพื่อปกครองประเทศไทยจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2562 ในระหว่างการปกครองประเทศไทย คสช. ได้แต่งเพลงขึ้นเป็นจำนวน 8 เพลง และยังใช้เพลงเหล่านี้เป็นเพลงประกอบรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อว่า “เดินหน้าประเทศไทย” คนไทยที่ดูรายการโทรทัศน์อย่างสม่ำเสมออาจจะมีโอกาสได้ยินและคุ้นหูกับเพลงเหล่านี้อย่างน้อยไม่เพลงใดก็เพลงหนึ่ง งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจอุดมการณ์แฝงในเพลงทั้งหมดของ คสช. และเพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดอุดมการณ์ โดยงานวิจัยนี้ใช้แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการวิจัยพบว่าอุดมการณ์แฝงที่พบสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ปลอดภัยของประเทศ ประเทศไทยกำลังมีสงคราม และไม่ใช่สถานที่ที่ปลอดภัย อีกทั้งจากการวิเคราะห์ยังพบบทบาทของคนในประเทศไทยจำนวน 3 บทบาท บทบาทแรก คือ บทบาทของรัฐบาลไทยในฐานะวีรบุรุษที่มีอำนาจในการช่วยประเทศไทยและเสียสละตนเองเพื่อคนไทย บทบาทที่สอง คือ บทบาทของคนไทยและประเทศไทยที่เป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัย และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ บทบาทสุดท้าย คือ คนที่ไม่ยอมรับความจริงที่ว่ารัฐบาลได้ทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือประเทศ ซึ่งได้รับบทบาทให้เป็นผู้ร้าย หลังจากการวิเคราะห์เนื้อเพลงเหล่านี้พบว่ามีกลวิธีทางภาษาทั้งหมด 6 กลวิธีที่ใช้ในการถ่ายทอดอุดมการณ์แฝง ประกอบด้วย การเลือกใช้คำศัพท์ สกรรมสภาพ ทัศนภาวะ วัจนกรรม มูลบท และอุปลักษณ์
Article Details
References
Adams, T. M. and Fuller, D. B. (2006). The words have changed but the ideology remains the same: Misogynistic lyrics in rap music. Journal of Black Studies, 36(2), 938-957.
Aleshinskaya, E. (2013). Key components of musical discourse analysis. Research in Language, 11(4), 423-444.
Arbain and Sandi, M. T. A. (2016). Critical discourse analysis of Eminem’s ‘Love the Way You Lie Part II’. Script Journal, 1(1), 1-10.
Bayram, F. (2010). Ideology and political discourse: A critical discourse analysis of Erdogan’s political speech. ARECLS, 7, 23-40.
Bradby, B. (2003). Part I social and cultural dimensions: 2. Popular music studies: Discourse analysis. Continuum Encyclopedia of Popular Music of the World, 1.
Fairclough, N. (1989). Language and power. London, England: Longman.
Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. London, England: Longman.
Martinez Jr, B. A. and Selepak, A. (2013). Power and violence in Angry Aryan song lyrics: skinhead communication strategy to recruit and shape a collective identity in the White Power Movement. C&S - São Bernardo do Campo, 35(1), 153-180.
Prayut 5 Years 8 Songs (รวมเพลงลุงตู่ สร้างสรรค์ผ่านปลายปากกา 5 ปี 8 บทเพลง). 2019, March 4. The S tandard. retrieved from http://thestandard.co/prayut-5-years-8-songs/.
Risdianto, F. (2016). Discourse analysis of a song lyric entitled ‘We Will Not Go Down’. Register Journal, 9(1), 139-158.
Van Dijk, T. A. (1993). Principles of critical discourse analysis. Discourse and Society, 4(2), 249-283.
Van Dijk, T. A. (1997). Discourse as interaction in Society. In T. A. Van Dijk (Ed.), Discourse as Social Interaction: Discourse Studies a Multidisciplinary Introduction (Vol. 2). London: Sage Publications.
Van Dijk, T. A. (2003). Critical discourse analysis. In D. S. e. al. (Ed.), The Handbook of Discourse Analysis (pp. 352-371). Malden, MA: Blackwell.
Van Dijk, T. A. (2006). Ideology and discourse analysis. Journal of Political Idelogies, 11(2), 115-140.