A Content Analysis of Online Political Conflict Discussion

Main Article Content

Usa Silraungwilai

Abstract

Political conflict in Thailand in the year 2010 spurred me to conduct an analysis of the content of online political conflict discussion in order to suggest strategies to build understanding in society. The content analysis to investigate political communication and conflict discourse in Thai online social networking on www.pantip.com shows that the specific themes of the blogs related to conflict discussion consisted of the outcome/expected outcome theme, the impact theme, the understanding theme, the conflict signal theme, the problem solving theme, the ideology/belief theme and the conflict management style theme. Interestingly, the findings on the specific themes show that the topics that the majority of bloggers discussed in terms of conflict management styles during the political crisis were the conflict management through confrontation style theme (28.8 %) followed by the conflict management through the reduction of conflict style theme (28.3 %), the conflict management through compromise style theme (22.7 %), the conflict management through coercion style theme (16.7 %), and other conflict management style themes (3.5 %). Based on the thought of communication theorists, the use of opinion leaders to disseminate ideas for reduction of conflict is one strategy for building understanding in the society (Bord, 1975; Burt, 1999; Valente & Davis, 1999).

 

การวิเคราะห์การสนทนาประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง ในสังคมออนไลน์

อุษา ศิลป์เรืองวิไล

ความขัดแย้งทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 กระตุ้นให้ผู้วิจัยวิเคราะห์การสนทนาประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมออนไลน์เพื่อเสนอกลยุทธ์ในการสร้างความเข้าใจอันดีในสังคม การวิเคราะห์สารเพื่อศึกษาการสื่อสารทางการเมืองและการวิเคราะห์วาทกรรมความขัดแย้งในสังคมออนไลน์ของไทย ในเว็บไซต์ www.pantip.com แสดงให้เห็นว่าประเด็นสนทนาหลักที่เกี่ยวกับความขัดแย้งในบล็อก ประกอบด้วย ประเด็นเรื่องผลลัพธ์/ผลลัพธ์ที่คาดหวัง, ประเด็นเรื่องผลกระทบ, ประเด็นเรื่องความเข้าใจซึ่งกันและกัน, ประเด็นเรื่องสัญญาณความขัดแย้ง, ประเด็นเรื่องการแก้ปัญหา, ประเด็นเรื่องอุดมการณ์/ความเชื่อ, และประเด็นเรื่องการบริหารจัดการความขัดแย้ง ที่น่าสนใจคือผลการวิจัยในหมวดประเด็นเฉพาะพบว่าหัวข้อเกี่ยวกับการบริหารจัดการความขัดแย้งที่บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่สนทนากันคือ การบริหารจัดการความขัดแย้งแบบเผชิญหน้า (28.8%) ตามมาด้วยการบริหารความขัดแย้งแบบทำให้สถานการณ์ของความขัดแย้งลดลง (28.3%), การบริหารจัดการความขัดแย้งแบบประนีประนอม (22.7%), การบริหารจัดการความขัดแย้งแบบบังคับ (16.7%) และการบริหารจัดการ ความขัดแย้งแบบอื่นๆ (3.5%) บนพื้นฐานแนวคิดของนักทฤษฎีด้านนิเทศศาสตร์นั้นการใช้ผู้นำความคิดเพื่อถ่ายทอดแนวคิดเรื่องการลดความขัดแย้งเพื่อเสนอกลยุทธ์เพื่อลดความขัดแย้งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างความเข้าใจอันดีในสังคม (Bord, 1975; Burt, 1999; Valente & Davis, 1999)

Article Details

Section
Academic Articles