ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและการรับรู้ของมนุษย์

Main Article Content

สุจรรยา พรประพันธ์

Abstract

ภาษานับเป็นระบบการสื่อสารที่ยุ่งยากซับซ้อนของมนุษย์ มนุษย์ได้คิดหาเสียงต่างๆ ขึ้นมา เพื่อสื่อความหมายถึงสรรพสิ่งนานาประการ มนุษย์สามารถคิดหาคำพูดได้อย่างไม่มีขีดจำกัดและสามารถกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสถานที่ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตกล่าวคือ เราสามารถเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสถานที่ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตกล่าวคือ (ขณะที่สัตว์ต่างๆ จะสื่อสารกันได้เฉพาะหน้าเท่านั้น) ในสังคมเรานั้น ตลอดเวลาที่มีการติดต่อกัน ภาษาจะมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอในการเสนอความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก ภาษาแสดงให้เราเห็นถึงบุคลิกลักษณะและพื้นฐานของผู้พูด นอกจากนี้ภาษายังมีอิทธิพลกับโลกทัศน์ หรือความคิดของคนในแต่ละสังคมอีกด้วย ในที่นี้ผู้เขียนใคร่ที่จะยกสมมติฐานของแซเปอร์-วอร์ฟ ซึ่งเป็นสมมติฐานเกี่ยวับภาษาและการรับรู้ของมนุษย์มาอธิบาย สมมติฐานนี้ได้ถูกตีความออกมาเป็น 2 นัย คือ

1. ภาษาที่มีอิทธิพลกับความนึกคิดของมนุษย์

2. ภาษาสะท้อนให้เห็นถึงความนึกคิดของมนุษย์

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

สุจรรยา พรประพันธ์

สุจรรยา พรประพันธ์ อาจารยสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษา