อัญมณีวิทยาในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย

Main Article Content

อรุณวรรณ คงมีผล

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาตำราอัญมณีของอินเดียโบราณที่เป็นภาษาสันสกฤตกับตำรานพรัจน์ของไทย เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เรื่องอัญมณีวิทยาในวรรณคดีทั้งสอง ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นธรรมเนียมปฏิบัติและความเชื่อในเรื่องอัญมณีที่มีร่วมกันในสังคมอินเดียและสังคมไทย "รัตนปรึกษา" คือศาสตร์ว่าด้วยการพิจารณาและตรวจสอบอัญมณี ได้รับการบันทึกในช่วงสมัยพระเวทจนถึงหลังสมัยพระเวท (ราว 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14) ต้นฉบับมีทั้งที่เป็นคัมภีร์โดยตรงและเป็นเรื่องแทรกในวรรณคดีอื่น เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ผสมสานกับความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าตามหลักศาสนาพราหมณ์ฮินดู ประกอบด้วยเรื่องต้นกำเนิดของอัญมณีประเภทต่างๆ แหล่งที่พบอัญมณี ลักษณะคุณและโทษของอัญมณีต่อผู้ครอบครอง ฯลฯ ส่วนตำราพนรัตน์ซึ่งเรียบเรียงในรัชสมัยพระบาทสมเด็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น แม้จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปบ้าง แต่หัวข้อและคำอธิบายเรื่องอัญมณีวิทยาสอดคล้องและคล้ายคลึงกับในตำรารัตนปรึกษา นอกจากนี้ยังมีการอ้างถึงตัวละครในตำนานรวมทั้งชื่อสถานที่ที่ปรากฎในคัมภีร์อินเดียโบราณ จึงอาจสรุปได้ว่า ตำรารัตนปรึกษาเป็นที่มาของความรู้และความเชื่อในตำรานพรัตน์ของไทย

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์
Author Biography

อรุณวรรณ คงมีผล

นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย