วงศ์เทวราชฉบับหลวงพัฒนพงศ์ภักดีกับขบวนการแต่งบทละครโบราณ

Main Article Content

เครือหวาย พรหมมา

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาบทละครเรื่องวงศ์เทวราชฉบับหลวงพัฒนพงศ์ภักดีกับขนบการแต่งบทละครโบราณ วงศ์เทวราชเป็นบทละครที่แต่งขึ้นในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุตสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างมากโดยเฉพาะแนวคิดและการแสดงออกในงานวรรณกรรม ชนชั้นนำและเหล่าปัญญาชนต่างให้ความสำคัญกับแนวคิดของวรรณกรรมที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงมากขึ้น กล่าวคือ การสร้างวรรณกรรมที่มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลทำให้บทละครเรื่องวงศ์เทวราชฉบับหลวงพัฒนพงศ์ภักดีซึ่งยังคงดำเนินรอยการประพันธ์ตามอย่างขนบการละครโบราณไม่ได้รับความสนใจ ผลการศึกษาพบว่าวงศ์เทวราชฉบับหลวงพัฒนพงศ์ภักดีมีแนวคิดและกลวิธีการเล่าเรื่องตามอย่างวรรณกรรมบทละครในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีคุณค่าทั้งในแง่วรรณศิลป์และคุณค่าทางสังคมในด้านต่างๆ การประเมินค่าวงศ์เทวราชฉบับนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยบริบททางสังคมและขนบการละครเพื่อพิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของวรรณกรรม

Laung Phathanapongphakdi’s Wong Thewarat and the Convention of Classical Play

Krueawai Promma

This article aims to investigate Laung Phathanapongphakdi’s Wong Thewarat and its convention of classical play. Laung Phathanapongphakdi’s Wong Thewarat was written during the reigns of King Mongkut and King Chulalongkorn. The context depicted socio-cultural changes in terms of intellectual history and literary tradition. The elites and intellectuals valued realistic elements in the contemporary works; Laung Phathanapongphakdi’s Wong Thewarat as conventional plays became unpopular. It is found that themes, literary devices and social values in Laung Phathanapongphakdi’s
Wong Thewarat pursued the conventions found in early Rattanakosin plays.
To verify values of the play, socio-cultural context and the convention should
be taken into account.

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์
Author Biography

เครือหวาย พรหมมา

นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์