การกำหนดวาระข่าวสารและการใช้ภาษาสร้างภาพความรุนแรงทางการเมืองช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Main Article Content

สรลักษณ์ พงษ์โพธิ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาษาพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ ความถี่และขนาดพื้นที่ในการกำหนดวาระข่าวสาร การกำหนดกรอบการรับรู้ผ่านการใช้คำสร้างภาพ และการกำหนดทิศทางประเด็นต่อฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง

งานวิจัยนี้วิเคราะห์ภาษาพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองระหว่างวันที่ 12 มีนาคม - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยเลือกศึกษาเฉพาะพาดหัวข่าวใหญ่ (banner) หน้าหนึ่งจากหนังสือพิมพ์แนวประชานิยมหรือเชิงปริมาณคือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และหนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพคือ หนังสือพิมพ์มติชน และหนึ่งสือพิมพ์กึ่งคุณภาพกึ่งประชานิยมคือ หนังสือพิมพ์แนวหน้า รวมจำนวนพาดหัวข่าวทั้งสิ้น 207 ชิ้น

Agenda Setting and Language Usage Reflecting Political Violence between March and May 2010 on Newspapers’ Front Page Headlines

Soralak Pongpo

The aim of this research is to study and compare the language used in the front page headline of newspapers in various dimension: frequency, size of areas used for agenda, now the headlines are framed through the use of language aimed to depict the image and how they positioned themselves as they criticized the government, the red t-shirt group, and the other groups related to political violence issues.
The data were collected from headlines of three newspapers focusing on banners between March 12 and May 19, 2010 in selected newspaper “Thairath”, representing popular newspaper, “Matichon”, as quality newspaper and “Naewna”, represented semi-quality and semi-popular newspaper. In total 207 headlines were examined.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

สรลักษณ์ พงษ์โพธิ์

อาจารย์ประจำสขาวิชานวัตกรรมสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย