ไม่ได้ขอให้มารัก: กะเทยกับความเชื่อทางพุทธเถรวาทในภาพยนตร์ไทย

Main Article Content

อาทิตย์ พงษ์พานิช

Abstract

บทความนี้วิเคราะห์และวิพากษ์ภาพแทนของเพศสถานะและเพศวิถีทางเลือกโดยเฉพาะอัตลักษณ์ความเป็นกะเทย อันเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อและการตีความของศาสนาพุทธเถรวาทในสังคมไทย ไม่ได้ขอให้มารัก (2555) ผลงานการกำกับภาพยนตร์โดยธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ที่มุ่งเสนอชีวิตตัวละครเพศทางเลือกจะเป็นกรณีศึกษาของบทความนี้ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ไทยที่มุ่งหรือมีประเด็นทางเพศทางเลือกเรื่องอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น

ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม โดยเฉพาะการผิดศีลข้อสามที่เกี่ยวข้องกับการ "ผิิดลูกผิดเมีย" ผู้อื่น มักถูกอ้างถึงบ่อยครั้งเพื่อธิบายสาเหตุของการกลายมาเป็นเพศทางเลือกในสังคมไทย แม้ว่า ไม่ได้ขอให้มารัก จะนำความเป็นกะเทยกับความเป็นพุทธมาปะทะกันอย่างชัดเจน แต่ภาพยนต์กลับเพิกเฉยต่อความเชื่อนี้ ภาพแทนของตัวละครกะเทยจึงดูเหมือนได้รับการปลดแอกจากการตอกย้ำตราบาปตามความเชื่อทางศาสนา อย่างไรก็ดี ภาพยนต์บรรจุความย้อนแย้งอย่างน่าสนใจด้วยการสร้างซ้ำภาพมายาคติในด้านลบ ทำให้ภาพแทนของกะเทยในทางหนึ่งยังผูกติดอยู่กับความน่าอับอาย แต่ในอีกทางหนึ่ง ภาพเข้าแบบด้านลบอาจเป็นการใช้ลักษณะวิลักษณ์เพื่อตั้งคำถามกับมาตรฐานอันเป็นที่ปรารถนาและพึงพอใจของระบบสังคมนิยมรักต่างเพศ อย่างไรก็ดี ในตอนท้ายของเรื่อง ตัวละครกะเทยยังคงถูกแบ่งแยกจากสถาบันครอบครัวไทยและต้องพลีชีพเพื่อยังประโยชนให้แก่สังคมและสถาบันรักต่างเพศ อังส่งผลให้คนในสังคมกระแสหลักทน/ยอมรับความเป็นเพศทางเลือกได้ นอกจากนี้ ภาพยนต์ยังสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาผ่านการตีความอันคลุมเครือจากหลักคำสอนขององค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจของตัวละครเพศทางเลือกที่ไม่อาจเป็นหนทางแห่งการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

อาทิตย์ พงษ์พานิช

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร