การศึกษาสภาพการวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยในรอบทศวรรษ

Main Article Content

สิรจิตต์ เดชอมรชัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการวิจัยทางการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเสศในประเทศไทยในรอบทศวรรษ (พ.ศ. 2545-2555) ผลจากการสังเคราะห์เชิงคุณลักาณะของงานวิจัยจำนวน 34 เรื่อง และจากการสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษารวมจำนวน 36 คน พบว่ากลุ่มงานวิจัยด้านหลักสูตรส่วนใหญ่มุ่งเน้นการประเมินผลการใช้หลักสูตรกลุ่มวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาฝรั่งเศา กลุ่มงานวิจัยด้านสื่อการเรียนการสอน ส่วนใหญ่เป็นการทดลองใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมการเรียนรู้ทักษะการฟัง-พูด และความรู้ด้านวัฒนธรรมฝรั่งเศส สำหรับกลุ่มงานวิจัยด้านการวัดและประเมินผลเป็นการศึกษารูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าสภาพการวิจัยมีวามก้าวหน้าในระดับปานกลาง ยังขาดประเด็นการวิจัยด้านหลักสูตร รูปแบบ/กลวิธีการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคในการทำวิจัย ได้แก่ มีภาระงานมาก ขาดแรงจูงใจ ขาดความรู้และทักษะการทำวิจัย แหล่งสนับสนุนการทำวิจัยและการเผยแพร่ผลงานวิจัยมีจำกัด

A Study of the State of Researches on French Teaching and Learning in Thailand during the Past Decade

Sirajit Dejamonchai

The purpose of this research is to investigate a state of researches in relation to teaching and learning French in Thailand during the past decade (during 2002-2012). The research is conducted by performing qualitative synthesis of data collected from 34 researches in the area of French teaching and learning as well as responses from questionnaires given to experts, French teachers in secondary schools, and French lecturers in universities. The findings reveal that researches on curriculum in general focused predominantly on the evaluation of study programs. Researches conducted on French learning and teaching activities focused on evaluating the development of French language skills. Researches on teaching materials focused on the roles of electronic media in aiding with the learning of French communication skills and cultural knowledge. Lastly, researches on measurement and evaluation examined different forms of authentic assessment. The opinion of the participants reveals the state of researches on French teaching and learning to be at a mediocre level, lacking clear research concepts in key areas of curriculum, forms and methods of learning as well as evaluation and assessment. Problems and obstacles in producing researches in the field of teaching and learning French include: excessive workload, lack of motivation and knowledge in research methodology, insufficient research fund, and limited venue for publication.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

สิรจิตต์ เดชอมรชัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาฝรั่งเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์