ลิลิตจันทกินนร: การปรับเปลี่ยนจากอรรถกชาดกเป็นวรรณคดีร้อยกรอง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องลิลิตจันทกินนรซึ่งมีที่มาจากอรรถกถาจันทกินนรชาดก เพื่อให้เห็นการปรับเปลี่ยนเรื่องทางพระพุทธศาสนามาเป็นวรรณคดีร้อยกรองประเภทลิลิต
ผลการศึกษาพบว่ากวีสร้างสรรค์วรรณคดีร้อยกรองประเภทลิลิตโดยอิงการลำดับเรื่องตามโครงสร้างหลักของอรรถกชาดก แต่ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาโดยการเพิ่มการพรรณารายละเอียดเกี่ยวกับความคิด อารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เพื่อให้ละครมีมิติและเพื่ออรรถรสของผู้อ่าน รวมไปถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ให้มีเนื้อหามากขึ้น นอกจากนี้กวีได้แทรกบทพรรณนาตามขนบนิยมในการประพันธ์วรรณคดีร้อยกรองไทยไว้ครบถ้วน อีกทั้งได้สอดแทนกสารัตถธรรมทางพระพุทธศาสนาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในอรรถกจันทกินนรชาดก
กระบวนการปรับเปลี่ยนอรรกถาจันทกินนรชาดกเป็นวรรณคดีร้อยกรองประเภทลิลิต ส่งผลให้ลิลิตจันทกินนรเป็นเรื่องสะเทือนอารมณ์ จับจิตจับใจผู้อ่านมากขึ้น อีกทั้งผู้อ่านยังสามารถนำสารัตถธรรมไปใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิติได้อีกด้วย
Lilit Chandakinnorn: The Poetic Adaptation of the Jātaka-atthakhathā
Sawinee Khonkaen
This article aims to study Lilit Chandakinnorn which is adapted from the Atthakhathā of Chandakinnara Jātaka to demonstrate the adaptation of a Buddhist story to a verse literary work.
The study finds that the poet creates the Lilit by following the same sequences as the Jātaka-atthakhathā while adapting content by adding explanation of thought, emotion of characters so the characters become more lively. The poet also provides details of scenes and situations to make the lilit more complete and comprehensible. In the adaptation process, the poet preserves the convention of Thai verse literature completely and also adds more dharma teachings to his work than those in the Jātaka-atthakhathā.
The process of adapting the Chandakinnara Jātaka-atthakathā to Lilit verse literature makes the story more romantic and impressive to the audience, helping them have full understanding and be able to apply dharma into their everyday life.