การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า ไป ในภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นำเสนอการจำแนกคำว่า ไป ที่เป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์ออกจากกันด้วยการวิเคราะห์วากยสัมพันธ์ของคำตามแนวทฤษฎีไวยากรพึ่งพาศัพทการก และศึกษาระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ที่เกิดขึ้นในคำว่า ไป ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้รวบรวมจากเอกสารประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น และนิตยสารที่ตีพิมพ์ในช่วง พ.ศ.2489-2552 (สมัยรัชกาลที่ 5-ปัจจุบัน)
ผลการวิจัยพบว่า คำว่า ไป ที่เป็นคำกริยาและคำว่า ไป ที่เป็นคำวิเศษณ์มีคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และแสดงความหมายแตกต่างกัน คำกริยา ไป มีความหมายแสดงการเคลื่อนที่ ในขณะที่คำวิเศษณ์ ไป ปรากฏร่วมกับคำกริยาชนิดต่างๆ และแสดงความหมายแตกต่างกันตามชนิดของกริยาที่ปรากฏร่วม คำกริยา ไป กลายเป็นคำวิเศษณ์ ไป ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ 4 กระบวนการ และการขยายความหมายทั่วไป การสูญลักษณะของหมวดคำเดิม การแยกตัว และการขยายความหมายเชิงอุปลักษณ์ เส้นทางการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำว่า ไป เริ่มจากกริยาแสดงการเคลื่อนที่ ไป กลายเป็นคำวิเศษณ์ ไป โดยมีความหมายแสดงทิศทางก่อนเป็นอันดับแรก ต่อมาจึงมีความหายแสดงการณ์ลักษณะสมบูรณ์ ความหมายแสดงความต่อเนื่องของการกระทำ และความหมายในเชิงประเมินค่า ตามลำดับ ซึ่งความหมายที่แตกต่างกันนี้สะท้อนถึงทัศนคติของผู้ใช้ภาษาไทย จึงแสดงให้เห็นว่าทัศนคติของผู้พูดส่งผลต่อการใช้ภาษา
ผลสรุปความถี่ในการปรากฏของคำว่า ไป ในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2552) พบคำวิเศษณ์ ไป มีความถี่ในการปรากฏสูงที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 9 จึงคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการใช้คำวิเศษณ์ ไป มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ค่ายเป็นค่อยไป และเป็นกระบวนการที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์