กิเลส: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในภาษาไทย

Main Article Content

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถ้อยคำอุปลักษณ์เกี่ยวกับกิเลสในภาษาไทย โดยผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากงานเขียนทางวิชาการ (Academic) งานเขียนกี่งวิชาการ (Non-Academic) เรื่องแต่ง (Fiction) หนังสือพิมพ์ (Newspaper) และเบ็ดเตล็ด (miscellany) ในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ (Thai National Corpus) ของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลการวิจัยพบว่า ถ้อยคำอุปลักษณ์สะท้อนมโนทัศน์เกี่ยวกับกิเลสในภาษาไทย ได้แก่ [กิเลส คือ สิ่งมีชีวิต] [กิเลส คือ วัตถุสิ่งของ] [กิเลส คือ ศัตรู] [กิเลส คือ สิ่งสกปรก] [กิเลศ คือ สิ่งล่อตาล่อใจ] [กิเลส คือ ไฟ] [กิเลส คือ ความมืดมัว] [กิเลส คือ ของเหลว] และ [กิเลส คือ โรค] มโนทัศน์เหล่านี้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่ว่า กิเลสเป็นสาเหตุของการทำให้จิตใจมนุษย์เศร้าหมองและขัดขวางความเจริญทางจิต

Human Passion,or /kìlèet/: A Study of Conceptual Metaphor in Thai

Wuttinun Kaewjungate

This article examines the conceptual metaphor of human passion, or /kìlèet/ in Thai. The data were randomly collected from academic works, non-academic works, fiction, newspapers and miscellany by using the Thai National Corpus program of the Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University.

It was found that the metaphorical expressions show the metaphorical concepts such as [PASSION IS A CREATURE] [PASSION IS AN OBJECT] [PASSION IS ENEMY] [PASSION IS DIRTINESS] [PASSION IS BAIT] [PASSION IS FIRE] [PASSION IS OBSCURITY] [PASSION IS LIQUID] and [PASSION IS DISEASE]. These concepts accord with the Buddhist belief that human passion is the cause of an unrefined and obstructed human mind.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์