อนุภาคการกำเนิดเหนือธรรมชาติในชาดก ตำนาน และนิทานพื้นบ้านไทย

Main Article Content

นิตยา วรรณกิตร์

Abstract

บทความนี้มุ่งอธิบายลักษณะอนุภาคการกำเนิดเหนือธรรมชาติ 2 อนุภาค ในอรรถกชาดก ปัญญาสชาดก ตำนาน และนิทานพื้นบ้านไทย ได้แก่ อนุภาคการกำเนิดในดอกบัวและอนุภาคการกำเนิดจากการกินน้ำปัสสาวะ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดและจุดมุ่งหมายของการใช้อนุภาคการกำเนินเหนือธรรมชาติในกลุ่มข้อมูลดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าวัตถุประสงค์ของการใช้อนุภาคการกำเนิดเหนือธรรมชาติทั้ง 2 อนุภาคสอดคล้องกับแก่นเรื่องและประเภทวรรณกรรม ด้านที่มาของแนวคิดในการสร้างสรรค์อนุภาค สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นแนวคิดที่ปรากฏในพระไตรปิฏกและคัมภีร์ชั้นอรรถกถาเป็นเบื้องต้น ก่อนจะแผ่ขยายความคิดไปยังกลุ่มวรรณกรรมที่เป็นตำนาน ชาดกนอกนิบาต และนิทานพื้นบ้านในชั้นหลัง โดยเป็นการประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม

Motifs of Supernatural Birth in Jataka, Thai Myths and Folktales

Nittaya Wannakit

This paper aims to explain two types of motifs of supernatural birth in the Jataka Atthakatha, Panyasa Jataka, myths and Thai folktales, including the motifs of supernatural birth in a lotus, and from drinking urine, to understand their concepts and purposes. It was found that the use of both motifs is consistent with the story theme and type of literature. Regarding the origin of such motifs, it is assumed that they primarily appeared in the Tripitaka and Atthakatha before being spread to literature in the form of myths, non-canonical Jataka and folktales, and adapted to suit the socio-cultural context

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

นิตยา วรรณกิตร์

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม