กาหลอ ดนตรีในพิธีศพ: กรณีศึกษาคณะมีนากาหลอ บ้านต้นส้มเหม้า ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดรัง

Main Article Content

ธนภัทร์ ไกรเทพ
สุพจน์ ยุคลธรวงศ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหน้าที่ทางสังคม และการสืบทอดวัฒนธรรมทางดนตรีของกาหลอคณะ มีนากาหลอ บ้านต้นส้มเหม้า ตำบลหนองช้างแล่นอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง 2) วิเคราะห์ดนตรีในเชิงมานุษยดุริยางควิทยาของคณะมีนากาหลอ บ้านต้นส้มเหม้า ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผลการศึกษาหน้าที่ทางสังคมและการสืบทอดวัฒนธรรมทางดนตรีของคณะมีนากาหลอ พบว่าเป็นดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม ใช้บรรเลงประโคมในพิธีศพขั้นตอนประกอบด้วยพิธีรับกาหลอไปบรรเลง พิธีออกจากบ้าน พิธีขอที่ตั้งโรงกาหลอพิธีเบิกโรงกาหลอ พิธีออกจากโรงกาหลอ พิธีลาโรงกาหลอ พิธีแห่ศพ และพิธีออกจากป่าช้า รูปแบบการบรรเลงและพิธีกรรมยึดถือตามขนบธรรมเนียมของดนตรีกาหลอแบบดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ และอนุรักษ์ไว้โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับทายาท ด้านดนตรีผลจากการศึกษาพบว่าคณะมีนากาหลอมีสมาชิกจำนวน 3 คน ใช้เครื่องดนตรี ได้แก่ ปี่กาหลอ 1 เลา กลองทน 2 ใบ และฆ้อง1 ใบ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพียงอย่างเดียวไม่มีการขับร้อง บรรเลงในลักษณะเพลงทำนองวน (Round) มีทำนองหลักเพียงทำนองเดียวไม่มีการประสานทำนอง (Monophony) ในบทเพลงเดียวสามารถบรรเลงได้หลายลักษณะ ระบบเสียงของปี่กาหลอมี 8 เสียงไม่เท่ากัน ระยะห่างระหว่างเสียง คือ 200 180 80 100 80 220 และ 180 เซ็นต์ ตามลำดับ บทเพลงกาหลอเป็นดนตรีที่ให้ความรู้สึกทางอารมณ์ในด้านความโศกเศร้า เสียใจ อาลัยอาวรณ์ ความพลัดพราก ความคิดถึง และความวังเวง

Kalor, The Funeral Music: A Case Study of The Meena Kalor Group of Ban Tonsommaw, Nong Chang Laen Sub-district of Huai Yot District in Trang Province

Thanaphat Graithep, Supot Yukolthonwong

The objective of this research are; 1) To study community roles to inherit musical culture of Kalor musical instrument of Meana Kalor troupe Ban Ton Sommaw, Nong Chang Laen subdistrict of Huai Yot district in Trang province. 2) To analyze Kalor music in the aria of Ethnomusicology of Meana Kalor troupe Ban Ton Sommaw, Nong Chang Laen subdistrict of Huai Yot district in Trang province. The results of the study are as following;

1) Kalor music is used in religious rite and funeral ceremony. The process of playing Kalor music at the funeral is composed of the rite of Kalor group invitation, the rite of Kalor group leaving for the funeral, the rite of asking permission to build a Kalor playhouse, the rite of opening a Kalor playhouse, the rite of leaving from a Kalor playhouse, the rite of pulling down  a Kalor playhouse, the rite of funeral procession and the rite of leaving from a cemetery. The musical styles and ceremony follow the tradition original Kalor of there ancestors. Kalor is conserved by passing from generations to generation of the community roles.

2) There are three musicians in Meana Kalor troupe and it consist of three types of instruments; One Pee Kalor, Two Thons and One Gong. The style of music is “Round” and without singer. It has only are main melody with no monophony, but it has various styles of music within same song. There are eight sound systems of Kalor and they are not equal between the sounds. The duration of sounds are 200, 180, 80, 100, 80, 220 and 180 cent respectively. Kalor music communicates sorrow, feeling, mourning, parting, missing and being lonely.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

ธนภัทร์ ไกรเทพ

นิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุพจน์ ยุคลธรวงศ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์