วารสาร วงวรรณคดี กับการฟื้นตัวของกลุ่มอนุรักษนิยม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มีมุ่งศึกษาบทบาทการฟื้นตัวของกลุ่มอนุรักษนิยมในการฟื้นสถานะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจากวารสารวงวรรณคดี ผลการศึกษาค้นพบว่า สังคมไทยในยุควงวรรณคดี (พ.ศ. 2489-2495) เป็นยุคที่กลุ่มอนุรักษนิยมเริ่มมีอานาจหรือบทบาทขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่ยุติไปหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก พ.ศ. 2481-2487) ซึ่งการเกิดขึ้นของวารสาร วงวรรณคดีไม่เพียงแต่มุ่งเผยแพร่ผลงานทางวรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาและวรรณคดีไทยในยุคนี้เท่านั้น แต่ยังพยายามที่จะฟื้นสถานะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยจากกลุ่มอนุรักษนิยมในยุคนี้ด้วย ดังจะเห็นได้จากงานประเภทต่างๆ ของวารสาร วงวรรณคดี มีเนื้อหามุ่งที่จะเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พระปรีชาสามารถ และพระจริยวัตรอันงดงามของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีสู่สาธารณชน
The Wongwannakadi Journal and the return of the Conservatives after World War II
Patchayakorn Poonkate
This study aims to investigate the return of the Conservatives in restoring the Royal institution under the democratic ruling system from the Wongwannakadi Journal. It is found that Thai society during the Wongwannakadi Period (B.E. 2489-2495) was when the Conservatives regained their power after losing the influence following the change in government ruling system, B.E. 2475, until Field Marshal Plaek Phibunsongkhram’s first term as the Prime Minister (B.E. 2481-2487). The establishment of the Wongwannakadi Journal was not only aimed at disseminating literary and literary criticism works written by Thai language and literary experts in this period, but also attempted to restore the Royal institution under the democratic ruling system by the Conservatives. As evident in various published works, the Wongwannakadi Journal aimed to disseminate royal duties, remarkable talents, and gracious royal activities of the kings in the Chakri Dynasty to the public.