“We live between volcano and church.”: ความขาดไร้และการแสวงหาความสุขของสตรีฟิลิปปินส์ใน Banana Heart Summer

Main Article Content

รัญวรัชญ์ พูลศรี

Abstract

นวนิยายเรื่อง Banana Heart Summer ของ เมอร์ลินดา โบบิส นักเขียนสตรีชาวฟิลิปปินส์ มุ่งถ่ายทอดสภาพชีวิตของสตรีในชุมชนแออัดของฟิลิปปินส์โดยมีตัวละครสตรีเป็นศูนย์กลางของเรื่อง ผู้แต่งใช้อาหารและการทาอาหารเป็นโครงเรื่องและความเปรียบให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ การรับประทานอาหารและความหิวถูกนามาเชื่อมโยงกับความขาดพร่องทางจิตวิญญาณของสตรี เบื้องหลังความหิวโหยคือความยากจน การละเมิดศีลธรรม การต่อสู้เพื่อแสวงหาความสุขทางกายและใจของสตรี สังคมฟิลิปปินส์เป็นสังคมปิตาธิปไตย สตรีจึงต้องเผชิญความกดดันจากวาทกรรมหญิงดีที่รองรับอานาจปิตาธิปไตยและความไร้อานาจในการทาตามความต้องการของตน สตรีจึงมีวิธีการแสวงหาอานาจและการเปลี่ยนแปลงสถานภาพผ่านความสามารถในการประกอบอาหาร เมื่อเผชิญกับความทุกข์สตรีมีวิธีเยียวยาและปลอบประโลมตนเองด้วยการรับประทานหรือประกอบอาหาร การสร้างเรื่องเล่าจากจินตนาการ และการวิงวอนต่อพระเป็นเจ้า นอกจากนี้คติความเชื่อท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ยังช่วยให้สตรีมีความหวังถึงชีวิตที่มีความสุข ท้ายที่สุดแล้วผู้แต่งเสนอสาระสาคัญที่ว่า การทาความเข้าใจว่าสุขและทุกข์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความเข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นเป็นเงื่อนไขสาคัญที่ทาให้สตรีฟิลิปปินส์สามารถดารงชีวิตได้อย่างมีความสุข

“We live between volcano and church.”: The Lack and Pursuit of Happiness of
Philippines Women in Banana Heart Summer

Ranwarat Poonsri

 The Novel Banana Heart Summer by Merlinda Bobis, portrays women’s way of life in the slum of Philippines by using a girl as the main character. The writer used food and cooking as the main plot and imaginary. Eating and hunger are associated with the dearth in women’s anima. The stories of poverty, immorality and fighting for physical and mental happiness are hidden behind the representation of hunger. The Philippines is a patriarchal society, as a result, women encounter with ideal women discourse which supports the patriarchy and they are powerless in controlling their own life. Women empower themselves by using cooking as a great weapon. When women encounter with sadness, they can heal themselves by eating, cooking, creating their own tales, praying for happiness from Gods, including the folktale rituals. These procedures make them hopeful. Finally, the writer’s main idea represents that the true happiness is to understand the heart of the matter and accept the true nature of oneself and the others.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

รัญวรัชญ์ พูลศรี

นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย