ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวต่างประเทศที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรณีศึกษานักศึกษาชาวเกาหลี

Main Article Content

สุรีย์รัตน์ บำรุงสุข

Abstract

ภาษาเกาหลีจัดอยู่ในตระกูลอัลเตอิกมีลักษณะเป็นภาษารูปคำติดต่อ (Agglutinative language) กล่าวคือ มีการเติมหน่วยคำอิสระหรืออนุภาค (Particle) ท้ายคำเพื่อแสดงหน้าที่ของคำในระบบวากยสัมพันธ์คำแต่ละคำจะมีลักษณะเป็นคำไม่สำเร็จรูป เมื่อจะนำไปประกอบเป็นรูปประโยคต้องแปลงรูปคำเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำในประโยค ส่วนระบบวากยสัมพันธ์เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวเกาหลี ผลการศึกษาพบว่ามีข้อบกพร่องในการเขียนเกิดขึ้นทั้งในระดับคำ ระดับไวยากรณ์และระดับประโยค รวมลักษณะข้อบกพร่อง 11 ลักษณะ

การเขียนภาษาไทยของนักศึกษาชาวเกาหลีมีข้อบกพร่องระดับคำมากที่สุด ได้แก่ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการใช้คำไม่ตรงตามความหมาย รองลงมาคือ ข้อบกพร่องเกี่ยวกับอิทธิพลของภาษาแม่ และอันดับที่สามได้แก่ ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเรียงคำในประโยค

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

สุรีย์รัตน์ บำรุงสุข

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์