การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไข
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง การสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน: สภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไข
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทยให้แก่ นักศึกษาชาวจีนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) แสวงหาแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการ วิจัยภาคสนามที่มุ่งให้ได้ผลการวิจัย 2 ส่วนคือ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้สอนแบบเจาะลึกจำนวน 19 ตัวอย่าง และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผู้เรียนที่เป็นนักศึกษาชาวจีนจำนวน 160 ตัวอย่าง
ผลการวิจัยในส่วนของผู้สอนพบว่า สภาพการสอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีนในระบบ
อุดมศึกษาไทยมี 2 แบบคือ หลักสูตรระยะสั้น 4-6, 8-16 สัปดาห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาไทยเบื้องต้นสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ และหลักสูตรระยะยาว1-2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนเป็นภาษาไทยให้แก่นักศึกษาชาวจีน ในประเด็นปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการสอน ผู้สอนเห็นว่าปัญหาสำคัญคือผู้เรียนมีพื้นความรู้ภาษาไทยแตกต่างกัน บางส่วนมีปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทย แต่ส่วนใหญ่มีข้อดีคือความขยันหมั่นเพียร ดังนั้นแนวทางแก้ไข จึงควรเน้นการทดสอบพื้นความรู้และการเรียนปรับพื้นฐานภาษาไทยของผู้เรียนตลอดจนการเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางมาเรียนที่ประเทศไทย
ในส่วนของผ้เูรยี นพบว่า นกั ศกึ ษาชาวจนี มที ศั นคตติ ่อการสอนภาษาไทยว่า เป็นการสอนแบบบรรยายและฝึกปฏิบัติในห้องเรียน โดยเน้นการใช้ทักษะทั้ง 4 คือ การฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างสัมพันธ์กัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเป็นไปอย่างใกล้ชิด มีการให้ความรู้ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมควบคู่กัน ในประเด็นปัญหาการสอน ผู้เรียนเห็นว่าทั้งครูและนักศึกษาชาวจีนมีความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบต่างกันขาดสื่อการสอนที่ทันสมัย ขาดตำราหรือเอกสารการสอนที่เหมาะสม ดังนั้นแนวทางแก้ไขจึงควรเน้นการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน และทางสถาบันต้นสังกัดควรมีการประเมินคุณภาพอย่างเข้มงวดและเป็นระบบที่ชัดเจน