การเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

วราพรรณ อภิศุภะโชค

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศที่ได้รับจากแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศที่แสวงหา

ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์ส่วนใหญ่แสวงหาสารสนเทศเพื่อประกอบการสอน โดยแหล่งที่แสวงหาได้แก่ ความรู้และประสบการณ์ของตนเอง สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เวิร์ด ไวด์ เว็บ และการประชุม/สัมมนาทางวิชาการ โดยมีเกณฑ์ในการเลือกแหล่งสารสนเทศที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ส่วนทรัพยากรสารสนเทศที่แสวงหาได้แก่ หนังสือ/ตำราวิชาการ รูปภาพ และเว็บไซต์ โดยแสวงหาสารสนเทศภาษาอังกฤษที่มีอายุระหว่าง 1-3 ปี สำหรับปัญหาด้านแหล่งที่ประสบคือ ห้องสมุดไม่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงความต้องการ ส่วนปัญหาด้านการสืบค้นที่ประสบ คือ การสืบค้นฐ้านข้อมูลออนไลน์บางฐานไม่สามารถเชื่อมโยงเอกสารฉบับเต็มได้ และเมื่อทดลองความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศที่ได้รับจากสารสนเทศที่อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์แสวงหาพบว่าส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน

A Comparison of Information Seeking Behaviors of Lecturers at Kasetsart University’s Faculty of Humanities and Faculty of Science

Warapan Apisuphachok

The research aims to study the information seeking behaviors of the lecturers at the Faculty of Humanities and the Faculty of Science, Kasetsart University and compares utilization of information sources and information sought.

This research found that the information seeking by the faculty members use of lecturing. Information sources sought own knowledge and experience, Kasetsart University Library, World Wide Web, and conference and seminars. The criteria of the information sources are accuracy and reliability. Most of the lecturers seek from books and textbooks, pictures and website. Mostly seek information in English between 1-3 years of age. The problem concerning the information sources are found the information resources provided in the library is not relevant to their needs. Moreover, the problem of information searching is unable to access the fullext articles from the online database. As shown by the frequency test on the utilization of information reported by humanities and sciences faculty members, the results show that the majority of both groups have no significant difference.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

วราพรรณ อภิศุภะโชค

อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์