คำกริยากลึนความในภาษาไทยถิ่นอีสาน

Main Article Content

ชมพูนุท ธารีเธียร

Abstract

คำกริยากลึนความ (incorporated verb) เป็นคำประสบประเภทหนึ่งที่ประกอบด้วยคำกริยาและคำนาม เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าเป็นคำกริยากลืนความในภาษาไทยถิ่นอีสานคือ การไม่สามารถย้ายคำนามที่ประกอบด้วยคำกริยาไปเป็นหัวข้อหรือเรื่อง (topic) ได้ ทฤษฎีที่ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ได้แก่ไวยากรณ์พึ่งพาศัพการก (Lexicase Dependency Grammar) ผลการวิเคราะห์พบว่า คำกริยากลืนความในภาษาไทยถิ่นอีสานมีการแปลง (derivation) หใวดคำตามลักษณะดังต่อไปนี้ 1) คำกริยากลืนความที่ประกอบด้วยกริยาทวิกรรมกับคำนาม แปลงเป็นสกรรมกริยา 2) คำกริยากลืนความที่ประกอบด้วยสกรรมกริยากับคำนาม แปลงเป็นสกรรมกริยาหรือกรรมกริยา 3) คำกริยากลืนความที่ประกอบด้วยอกรรมกริยากับคำนาม แปลงเป็นอกรรมกริยา กล่าวโดยสรุปแล้วในการแปลงหมวดคำ หมวดคำต้นทางอาจสูญคุณสมบัติความเป็นกริยาทวกรรม อาจสูญความเป็นสกรรมกริยา หรืออาจยังคงคุณสมบัติเช่นเดียวกับคำกริยาต้นทาง ส่วนลักษณ์ชี้บ่งเป็นนัย (implicational features) ของคำนามที่เป็นส่วนประกอบในคำกริยากลืนความ มี 5 ลักษณ์ดังนี้ 1) ผู้รับหรือผู้ทรงสภาพ (patient) 2) เครื่อมือ (instrument) 3) ตำแหน่งที่ตั้ง (location) 4) จุดหมาย (goal) 5) แหล่งเดิม (source)

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ชมพูนุท ธารีเธียร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี