การประยุกต์ใช้พิณและโหวดของมงคล อุทก เพื่อการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากล
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ (1) ศึกษาเปรียบเทียบเครื่องดนตรีระหว่างพิณและโหวดอีสานกับพิณและโหวดของมงคล อุทก ในด้านลักษณะทางกายภาพ ระบบเสียงวิธีการและเทคนิคในการบรรเลง รวมถึงโอกาสในการบรรเลง และ (2) วิเคราะห์บทเพลงตามขอบเขตที่กำหนดคือ (2.1) บทเพลงที่บรรเลงประกอบด้วยพิณ 3 เพลง ได้แก่ เพลงพิณ คนกับควาย ลุกขึ้นสู้ (2.2) บทเพลงที่บรรเลงประกอบด้วยโหวด 2 เพลง ได้แก่ ถั่งโถมโหมแรงไฟ จิตร ภูมิศักดิ์ และ (2.3) บทเพลงที่ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองด้วยตนเอง 3 เพลง ได้แก่ คืนสู่รัง เสรีภาพ และเซิ้งอีสาน ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้
(1) เครื่องดนตรีมีความแตกต่างกันทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพ ระบบเสียง วิธีการและเทคนิคในการบรรเลง รวมถึงโอกาสในการบรรเลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเสียงของพิณและโหวดของมงคล อุทกที่ได้พัฒนาและเทียบเสียงตามระบบเสียงของดนตรีสากล ซึ่งทำให้สามารถบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) บทเพลงทั้งหมดมีเนื้อหาสะท้อนปัญหาสังคม โครงสร้างและคุณลักษณะของดนตรีมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันในบางประการ ส่วนมากอยู่ในบันไดเสียงจีเมเจอร์ ซีเมเจอร์ และเอฟเมเจอร์ ประกอบไปด้วย 5-7 เสียง ลักษณะผิวพรรณของบทเพลงส่วนมากเป็นแนวทำนองเดียว แต่มีเสียงประสานยืนในบทเพลงคนกับควายและเพลงลุกขึ้นสู้ การเคลื่อนที่ของทำนองส่วนมากเป็นลักษณะตามขั้นที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกันในทิศทางขึ้นมากกว่าทิศทางลง รวมถึงมีการซ้ำทำนอง การแปรทำนอง และการล้อทำนองที่โดดเด่น บทเพลงส่วนมากอยู่ในอัตราจังหวะ 4/4 และ 2/4 ความช้า-เร็วของจังหวะประมาณ 65-120 ครั้งต่อนาที แต่มีการเปลี่ยนอัตราจังหวะในบางบทเพลง การขับร้องมีลักษณะการเอื้อนทำนองที่มีหลายระดับเสียงในหนึ่งพยางค์
An Application of the Phin and Vote Musical Instruments of Mongkol Utok for Playing with Western Musical Instruments
Kanjana Wattanapiphat, Saran Nakrob
This research is the qualitative research aiming to compare the musical instruments between Phin and Vote Isan and Phin and Vote of Monkol Utok in physical properties, tuning system, playing methods and techniques as well as performance circumstances. It’s also to analyze selected songs which are: 1) Phin accompaniment 3 songs; Pleng Phin, Khon kab Kway, and Luk Khaun Su 2) Vote accompaniment 2 songs; Thang Thome Home Rang Fai, and Pleng Jitra Bhumisak and 3) His lyric and melodic composition 3 songs; Khaune Su Rang, Seree Bhap, and Saung Isan. The results of the study are as follows.
(1) The musical instruments are different in physical properties, tuning system, playing methods and techniques as well as performance circumstances. Especially the Phin and Vote of Mongkol Utok which have been developed to western system, thus the instruments can be played with western instruments effectively. (2) The songs are similar in structure and characters reflecting social problems in lyrics. However, it is found that some differences in some aspects. The pentatonic to diatonic used are almost in G, C, and F major scales. Most of the songs have a monophonic texture without harmonies but it is found drone harmony in the Khon Kab Kway and Luk Khaun Su songs. The melodic movements are conjunctive ascending motion rather than descending motions, with the repetitions, variations as well as antecedent-consequent are outstanding. The time signature are 4/4 and 2/4 with are approximately 65 – 120 beats per minute in tempo. But it is found some rhythmic changes in some songs. The melismatic is the style of singing.