การศึกษาการแปลวรรณกรรมจีนเรื่องไซ่ฮั่นในสมัยรัชกาลที่ 1

Main Article Content

กนกพร นุ่มทอง

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาการแปลวรรณกรรมจีนเรื่องไซ่ฮั่นในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งแปลมาจากนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่อง "ซีฮั่นทงสูเหยี่ยนอี้" ของเจินเหว่ย นักประพันธ์ในสมัยราชวงศ์หมิง โดยผู้อำนวยการแปลคือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษณ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถาภิมุข (กรมพระราชวังหลัง) ด้วยสมัยนั้นไม่มีผู้รู้ภาษาไทยและภาษาจีนในบุคคลเดียวกัน จึงใช้วิธีการแปลแบบโดยคณะผู้แปล มีการแปลแบบถอดความและอาศัยการเรียบเรียงใหม่เป็นสำคัญ

ผลการศึกษาพบว่า การแปลวรรณกรรมจีนเรื่องไซ่ฮั่นมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ มีการดัดแปลงขนบลีลาการประพันธ์ ขยายความ ย่อความ ตัดข้อความ เติมความ แปลคลาดเคลื่อน ดัดแปลงข้อความ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ฉบับภาษาไทยมีส่วนที่ไม่ตรงกับฉบับภาษาจีนอยู่มาก นอกไปจากนั้นฉบับภาษาไทยมีความไม่เป็นเอกภาพในด้านวิธีการถอดเสียงภาษาจีน จากการศึกษาพบว่า ความไม่ตรงกันกับฉบับภาษาจีนนั้น ส่วนหนึ่งนั้นมีสาเหตุมาจากข้อจำกัดในด้านภาษาและวิธีการแปล ซึ่งคณะผู้แปลชาวจีนและชาวไทยไม่สามารถสื่อสารกันได้เข้าใจชัดเจน หรือมิฉะนั้นก็เป็นไปเพื่อมุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ มาจากความจงใจของผู้แปลที่มุ่งวัตถุประสงค์ในด้านการเมืองการปกครอง โดยจงใจใช้วรรณกรรมเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ในการกล่อมเกลาความคิดและความรู้สึกทางการเมืองของผู้อ่าน

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

กนกพร นุ่มทอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์