ผลของการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการยอมรับสื่อวีดิทัศน์ของกลุ่มวัยทำงาน

Main Article Content

ประภาส นวลเนตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสื่อสารการตลาดที่มีต่อการยอมรับสื่อวีดิทัศน์เรื่อง "การป้องกันและรักษาโรคอ้วน" ของกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอนครชัยศรี และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 60 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 41 ถึง 60 ปี ที่มีปัญหาด้านสุขภาพโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอนครชัยศรี จำนวน 30 คน ได้รับสื่อวีดิทัศน์โดยใช้การสื่อสารการตลาด ส่วนกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอกำแพงแสนจำนวน 30 คน ได้รับสื่อวิดีทัศน์โดยใช้การสื่อสารแบบปกติ ทำการเปรียบเทียบผลของการใช้วิธีการสื่อสารทั้ง 2 วิธีโดยการเก็บข้อมูลทุกสัปดาห์ รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์โดยการใช้สถิติค่าร้อยและและค่าเฉลี่ยผลการศึกษาพบว่า ในระยะเวลา 4 สัปดาห์แรก การใช้การสื่อสารการตลาดในการแพร่กระจายสื่อวีดิทัศน์มีความไวในการรับสื่อและการนำไปปฏฺบัติมากกว่าการใช้การสื่อสารแบบปกติ 2.67 เท่า สำหรับปริมาณการยอมรับสื่อวีดิทัศน์พบว่าการใช้การสื่อสารการตลาดมีผลทำให้มีการยอมรับสื่อและนำไปปฏิบัติสำเร็จมากกว่าการใช้การสื่อสารแบบปกติ 4.33 เท่า ผลการศึกาาในสัปดาห์ที่ 5-8 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การสื่อสารการตลาดประสบความสำเร็จสูงสุดของระดับการยอมรับ และมีความคงทนในการใช้สื่อวีดิทัศน์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มตัวอย่้างที่ใช้การสื่อสารแบบปกติ ยังไม่ประสบความสำเร็จสูงสุดของการยอมรับสื่อ และยังไม่สามารถวัดความคงทนในระยะเวลา 8 สัปดาห์ได้

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์
Author Biography

ประภาส นวลเนตร

นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์