ความรู้ด้านวัฒนธรรมและการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว

Main Article Content

สุพรรณี จันทน์คราญ

Abstract

ในการสอนภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับมัคคุเทศก์ชาวไทยนั้น วัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งคือการที่จะให้มัคคุเทศก์สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้ถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ แต่ในด้านการเรียนการสอนนั้นดูเหมือนว่าผู้สอนมักให้ความสำคัญกับตัวภาษา (langue) มากกว่าส่วนที่เป็นวัฒนธรรม (culture)จนดูแหมือนว่าวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะเรียนหรือไม่เรียนก็ได้ อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าในการสื่อสารที่แท้จริงระหว่างชนต่างเชื้อชาตินั้น ปัญหาที่เกิดจากตัวภาษา ( problemeslinguistiques) ส่งผลเสียร้ายแรงน้อยกว่าปัญหาที่เกิดจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน (problemesculturels) ตัวอย่างเช่น หากมัคคุเทศก์ใช้ภาษาฝรั่งเศสไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ หรือใช้ศัพท์ไม่ถูกต้อง นักท่องเที่ยวก็ยังพอเข้าใจหรือเดาความหมายใกล้เคียงได้ แต่การเข้าใจผิด เพราะแปลเจตนารมณ์กันไม่ถูกต้อง เนื่องจากผู้พูดมีค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน ถือเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะผู้พูดมักไม่มีโอกาสตรวจสอบว่าสิ่งที่ตนเข้าใจนั้น ตรงกับเจตนารมณ์ที่แท้จรองของผู้พูดอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเข้าใจผิด ตัวอย่างเช่นเมี่อเกิดปัญหา มัคคุเทศก์ไทยแสดงความปรารถนาดีไม่อยากให้นักท่องเที่ยวกังวลใจ โดยกล่าว “ Cen’est pas grave ” (ไม่มีอะไรร้ายแรง) แต่ประโยคเดียวกันนี้อาจสร้างความฉุนเฉียวให้นักท่องเที่ยว ซึ่งคิดว่ามัคคุเทศก์เห็นปัญหาของตนไม่สำคัญ เรื่องทำนองนี้เป็นตัวอย่างการเข้าใจผิดทางวัฒนธรรม ( malentenduculturel )

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

สุพรรณี จันทน์คราญ

ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์