การสอนดนตรีในแบบของโคไดและออร์ฟ
Main Article Content
Abstract
ตนทั่วไปมักจะพูดว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากล” คำพูดนี้นักการศึกษาดนตรีจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วย เพราะดนตรีของแต่ละชาตินั้นจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่แตกต่างไปจากดนตรีของชาติอื่นๆ ซึ่งคงจะเหมือนกับการที่ภาษาพูดของแต่ละชาติมีความแตกต่างกันนั่นเอง แต่ภาษาพูดของแต่ละชาติไม่ได้ถือเป็นภาษาสากล ภาษาสากลนั้นหมายถึงภาษาของชาติที่เป็นมหาอำนาจที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจหรือการเมืองเหนือชาติอื่นๆ ความเป็นมหาอำนาจหรือความมีอิทธิพลนั้นมีผลทำให้ชาติอื่นที่ด้อยกว่าต้องเข้ามาพึ่งพา และวิธีที่จะทำให้การพึ่งพาของเขาได้ผลดีก็ต้องพูดภาษาเดียวกับเขา ดังนั้น ภาษาสากลจึงหมายถึง ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และจีน โดยแต่ละภาษาที่กล่าวชื่อมาก็ยังมีความเป็นสากลมากกว่ากัน ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของเจ้าของภาษาที่มีต่อโลก โดยนัยของการเปรียบเทียบดนตรีกับภาษา ดนตรีที่จะถือเป็น “ภาษาสากล” ได้จึงหมายถึงดนตรีของชาวตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ความเป็นสากลของดนตรีตะวันตกอาจมีผลมาจากอิทธิพลทางการเมืองและการค้าที่ชาวตะวันตกเคยมีเหนือชนชาติอื่นๆมาแต่อดีต แม้ปัจจุบันความเป็นยุคโลกภิวัตน์ (Globalization) จะทำให้ชาวโลกทั่วไปหันมาสนใจกับดนตรีพื้นเมืองของชาติต่างๆ จนทำให้เกิดวิชาใหม่ว่าด้วยการศึกษาดนตรีของชนชาติต่างๆ (Ethnomusicology) ดนตรีของชาวอัฟริกาและเอเชียได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในหมู่ของชาวตะวันตก แต่ “ภาษาสากล” ในความหมายของดนตรีก็ยังคงความถึงดนตรีของชาวตะวันตกอยู่
Article Details
Section
Academic Articles