โวหารภาพพจน์ในบทเพลงของ ธงไชย แมคอินไตย์

Main Article Content

สมเกียรติ รักษ์มณี

Abstract

ภาพพจน์ (Figure of speech) มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับ พ.ศ. 2525 ว่า “คำพูดที่เป็นสำนวนโวหาร ทำให้นึกเห็นเป็นภาพ” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2525 : 607) วรรณี จันทรศิริได้อธิบายว่าเป็นศัพท์ของเสด็จในกรมพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งหมายถึงภาพที่เกิดจากถ้อยคำบรรยาย (วรรณี จันทรศิริ, 2538 : 80) การใช้โวหารภาพพจน์ในบทประพันธ์ใดๆ จึงมุ่งให้เป็นไปเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังได้นึกเห็นภาพจากการได้อ่านหรือฟัง “ผู้แตงร้อยกรองปัจจุบันนิยมใช้โวหารต่างๆ หลายชนิดด้วยกันเพราะมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการจะให้โวหารนั้นๆ เป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความฝัน หรือความรู้ของผู้แต่งไปยังผู้อ่าน” (สายทิพย์ นุกูลกิจ, 2537 : 79) โวหารภาพจน์จะช่วยให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ สามารถรับอรรถรสและสุนทรียรสในบทประพันธ์หรือบทร้อยกรองได้เป็นอย่างดี บทเพลง เป็นบทกวีในอีกลักษณะหนึ่งซึ่งใช้เป็นสื่อเพื่อความบันเทิงและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน การใช้โวหารภาพพจน์ในบทเพลงจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะในบทเพลงของนักร้องที่เป็นขวัญใจของผู้ฟังมานับสิบปี กระทั่งในเวลานี้อย่างเช่น ธงไชย แมคอินไตย์

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

สมเกียรติ รักษ์มณี

ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์