ลวดลายพรรณพฤกษาในผ้าไทโบราณ

Main Article Content

อรไท ผลดี

Abstract

งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อเสนอหลักการใหม่เกี่ยวกับลวดลายพรรณพฤกษาในผ้าไทโบราณนับตั้งเเต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์วิธีวิจัยคือค้นคว้าจากหลักฐานทางโบราณคดีประวัติศาสตร์ศิลปะเเละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับลวดลายผ้าไทโบราณผลการวิจับพบหลักฐานใหม่เกี่ยวกับลวดลายพรรณพฤกษาในผ้าไทโบราณดังนี้คือสมัยหินใหม่จำนวน8 ลายได้เเก่ลายดอกหญ้าหรือลายปล้องอ้อยลายมะลิเลื้อยลายใบไผ่ลายหวีกล้วยลายต้นสนหรือลายต้นดอกไม้ลายตาสัปปะรดลายหมากจับ(กระจับ)เเละลายดอกไม้สี่กลีบสมัยโลหะจำนวน7ลายได้เเก่ลายบักโม(เเตงโม)ลายก้านขดลายคล้ายกระหนกช่อลายบัวคว่ำบัวหงายลายดอกเเก้วหรือดอกพิกุลเเละลายคล้ายลายพุ่มข้าวบิณฑ์สมัยก่อนทวารวดี1 ลายคือลายดอกจันทร์สมัยทวารวดี2 ลายได้เเก่ลายดอกบัวเเละลายพวงมาลัยในสมัยสุโขทัย3 ลายคือลายก้านเเย่งลายดอกสร้อยเเละลายเฟื่องหรือลายกรวยเชิงส่วนลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากลายไทมี3 ลายได้เเก่ลายดอกไม้ร่วงลายดอกลำดวยเเละลายดอกใบเทศ

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

อรไท ผลดี

ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์