การกลายเป็นคาไวยากรณ์ของคากริยา ไป เป็นคาบ่งชี้ทัศนภาวะ

Main Article Content

ชาฎินี มณีนาวาชัย
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา

Abstract

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า มีการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำกริยา ไป ซึ่งตามหลังคำกริยาอื่นในหน่วยสร้างกริยาเรียงหรือที่เรียกว่า “กริยารอง” ตัวอย่างเช่น เมื่อคำกริยา ไป ในประโยคนี้ตามหลังคำกริยาแสดงการประเมินค่า เช่น สูง ขาว จะแสดงการเกินความพอดี และเมื่อคำกริยา ไป ตามหลังคำกริยาแสดงการกระทำ เช่น ทางาน นอน จะแสดงการณ์ลักษณะไม่สมบูรณ์ (Gandour, 1978; Thepkanjana, 1986; Rangkupan, 1992) ทั้งสองความหมายนี้ต่างสูญเสียองค์ประกอบทางความหมายของการเคลื่อนที่ และคงความหมายของทิศทางที่ออกจากจุดอ้างอิงไว้ นอกจากตาแหน่งคำดังกล่าวแล้ว คำกริยา ไป ในตำแหน่งกริยานำก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน แต่กลับพบว่ามีการศึกษาจำนวนน้อย เมื่อคำกริยาไป ในฐานะที่เป็นกริยานำของหน่วยสร้างกริยาเรียงนำหน้าคำกริยาแสดงการกระทำในบริบทที่เป็นกลาง (neutral context) จะแสดงการเคลื่อนที่ออกจากจุดอ้างอิงของผู้พูดเพื่อทำบางสิ่งบางอย่าง คำกริยา ไป ในตำแหน่งคำดังกล่าว ทำหน้าที่เป็นคำกริยา หลักของประโยค นอกจากคำกริยา ไป ที่เป็นกริยานำจะแสดงการเคลื่อนที่ออกจากจุดอ้างอิงของผู้พูดโดยมีวัตถุประสงค์บางอย่างแล้ว ยังพบว่าในบางบริบทคำกริยา ไป ในตำแหน่งนี้ไม่ได้แสดงการเคลื่อนที่เชิงกายภาพดังกล่าว แต่กลับแสดงความหมายทางไวยากรณ์บางอย่าง บทความนี้จึงจะนำเสนอว่าคำกริยา ไป ที่เป็นกริยานำจะกลายเป็นคำไวยากรณ์ในบริบทใดและมีความหมายหรือหน้าที่ใดในบริบทดังกล่าว

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์