พัฒนาการของคำว่า เป็น ที่มีความหมายประจำคำในภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
ในภาษาไทยปัจจุบัน คำว่า เป็น ที่มีความหมายประจำคำแสดงความหมายได้ 4 ความหมาย ได้แก่ ‘มีชีวิต’ ‘บังเกิด’ ‘ดำเนิน, ปรากฏอยู่’ และ ‘รู้ (วิธี, ความรู้สึก/สภาพ)’ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำว่า เป็น ทั้ง 4 ความหมายนี้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน และศึกษาว่าคำว่า เป็น เหล่านี้มีพัฒนาการที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร และมีความสัมพันธ์กันแบบคำหลายความหมายหรือเป็นเพียงคำพ้องรูปพ้องเสียง ผลการศึกษาพบว่าคำว่า เป็น ทั้ง 4 ความหมายนี้ มีพัฒนาการซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่ สมัยสุโขทัยถึงธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง 2 สมัยรัชกาลที่ 3 ถึง 4 และสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังพบว่าคำว่า เป็น ที่มีความหมายประจำคำทั้ง 4 ความหมาย มีพัฒนาการที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน กล่าวคือ คำว่า เป็น ที่หมายถึง ‘มีชีวิต’ เป็นคำต้นกาเนิดของคำว่า เป็น ในความหมายอื่นๆ โดยมีเส้นทางการเปลี่ยนแปลงซึ่งแยกออกเป็น 2 เส้นทาง กล่าวคือ เส้นทางแรก คำว่า เป็น ที่หมายถึง ‘มีชีวิต’ ได้พัฒนาไปเป็นความหมายว่า ‘บังเกิด’ และ ‘รู้ (วิธี, ความรู้สึก/สภาพ)’ ตามลำดับ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง ก็เริ่มต้นจากคำว่า เป็น ที่หมายถึง ‘มีชีวิต’ ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นความหมายว่า ‘ดำเนิน, ปรากฏอยู่’ การเปลี่ยนแปลงข้างต้นนี้ ผ่านกระบวนการสำคัญ 2 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการนามนัยและกระบวนการอุปลักษณ์ เมื่อคำว่า เป็น ทั้งหมด มีพัฒนาการที่สัมพันธ์กัน จึงสรุปได้ว่าคำว่า เป็น เหล่านี้ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะคำหลายความหมาย ไม่ใช่คำพ้องรูปพ้องเสียง