กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย

Main Article Content

อุมาภรณ์ สังขมาน

Abstract

วัจนกรรมที่ทำให้คนในสังคมหนึ่งรู้สึกขบขันอาจจะไม่ได้ทำให้คนอีกสังคมหนึ่งรู้สึกเช่นนั้น ทั้งนี้เพราะคนในแต่ละสังคมต่างก็มีความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน วัจนกรรมเสียดสีจึงเป็นวัจนกรรมประเภทหนึ่งที่มีความโดดเด่นอย่างมากในเรื่องการใช้ภาษาเพื่อสร้างความตลกขบขันในสังคมไทยรวมทั้งน่าจะมีกลวิธีทางภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาของวัจนกรรมเสียดสีที่สร้างความตลกขบขัน ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างเพลงฉ่อยในการแสดงจาอวดหน้าม่านของรายการคุณพระช่วย จานวน 40 ตอน จากการศึกษาพบว่ากลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันมี 6 กลวิธี ได้แก่ การใช้ถ้อยคำเชิงคำถามวาทศิลป์ การใช้ถ้อยคำเชิงเปรียบ การใช้ถ้อยคำล้อเลียน การใช้ถ้อยคำกระทบ การใช้ถ้อยคำเหน็บแนม และ การใช้ถ้อยคำประชดประชัน กลวิธีเหล่านี้ล้วนเป็นกลวิธีที่ผู้พูดละเมิดหลักในกฎการสนทนาของไกรซ์ (Grice,1975) เพื่อก่อให้เกิดความหมายบ่งชี้โดยนัยทั้งสิ้น

Article Details

Section
Research Articles