ลีลาภาษาเขียนในภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
ผู้ใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวัน ทั้งทักทาย พูดคุย เขียนจดหมาย และประกอบอาชีพต่างๆ จะใช้ภาษา 2 ลักษณะ ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งลักษณะภาษาพูดและภาษาเขียนต่างมีลักษณะเฉพาะที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง เพื่อผู้ใช้ภาษาจะได้เลือกใช้ลีลาภาษาให้เหมาะแก่กิจกรรมที่ตนกระทำ เหมาะแก่กาล เหมาะแก่เทศะ เช่น ถ้าพูดคุยสนทนาให้ออกรสก็ใช้ลีลาภาษาพูด ถ้าเขียนคอลัมน์ซุบซิบที่ต้องการให้ผู้อ่านเห็นภาพ รับความรู้สึกอย่างที่ผู้เขียนต้องการก็ใช้ลีลาภาษาพูด แต่หากจะเขียนบทความเพื่อแสดงความรู้ แสดงข้อเท็จจริง ใช้ลีลาภาษาเขียน หรือถ้าจะร่างคำกล่าวในวาระสำคัญๆ จะเลือกใช้ลีลาภาษาเขียน เป็นต้น
ในเรื่องลีลาภาษาพูดในภาษาไทย ผู้เขียนได้กล่าวไว้แล้วในบทความเรื่อง “ลีลาภาษาพูดในภาษาไทย” ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ เล่มที่ 3 พ.ศ. 2538 หน้า 39-54 ว่า ภาษาพูดแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือลักษณะที่ 1 ลีลาภาษาพูดที่ใช้สนทนาพูดคุย ลักษณะที่ 2 ลีลาภาษาพูดที่ปรากฏในงานเขียนบางประเภท ส่วนในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะลีลาภาษาเขียนArticle Details
Section
Academic Articles