ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดของคนเราได้จริงหรือ

Main Article Content

วิภากร วงศ์ไทย

Abstract

เมื่อพูดถึงอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความคิดของคนเรา หลายท่านคงจะพอทราบว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับทฤษฎี ทฤษฎีหนึ่งที่เรียกกันว่า “Sapir-Whorf Hypothesis” ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ในยุโรป แต่มาเป็นทีรู้จักกันอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 20 ในอเมริกา โดยเริ่มจาก Sapir (1884-1939) นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันได้เสนอความคิดว่า ภาษาเป็นตัวชี้นำความคิดของคนเรา ตนเราไม่ได้มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ได้อย่างอิสรเสรี แต่เรามีชีวิตอยู่ ภายใต้อิทธิพลของภาษากับสังคม เมื่อภาษาเป็นลักษณะใด โลกของคนก็จะเป็นไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อ 2 ภาษา ต่างกัน โลกของ 2 คน จะเป็นคนละใบกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเราจะเห็นหรือได้ยินเป็นอย่างไร ก็จะเป็นไปตามที่ภาษาได้กำหนดทางเลือกไว้ให้กับเรา โดย Sapir บอกว่า “We see and hear and otherwise experience very largely as we do because the language habits of our community predispose certain choices of interpretation” (Sapir, 1988 : 143-148)

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

วิภากร วงศ์ไทย

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์