“พระจันทร์” ในวรรณกรรมญี่ปุ่นเรื่องโทะซะนิกกิ

Main Article Content

อรรถยา สุวรรณระดา

Abstract

วรรณกรรมเรื่อง โทะซะนิกกิ เป็นวรรณกรรมในรูปแบบบันทึกเล่มแรกของญี่ปุ่น เขียนขึ้นในสมัยเฮอันราวปี ค.ศ. 936 โดยคิโนะท์ซุระยุกิ ผู้เขียนได้บรรยายถึงทิวทัศน์และเหตุการณ์ในระหว่างการเดินทางโดยเรือจากเมืองโทะซะกลับมายังบ้านที่เกียวโตเมืองหลวง พร้อมกับได้บรรยายอารมณ์ความรู้สึกและความคิดของตนผ่านออกมาในบันทึกนี้ ในด้านการบรรยายทิทัศน์นั้น นอกจากสภาพอากาศและท้องทะเลซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางแล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้เขียนยังได้กล่าวถึงพระจันทร์อยู่บ่อยครั้งด้วย บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับ “พระจันทร์” ในเรื่อง โทะซะนิกกิ ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างไรหรือไม่ จึงปรากฏออกมาบ่อยครั้งในเรื่อง จากการศึกษาพบว่า พระจันทร์ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงบ้านเกิดเมืองหลวง และยังเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกล่วงหน้าถึงสภาพการเดินทางที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหลังจากที่ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ นอกจากนี้พระจันทร์ยังมีบทบาทในการสะท้องอารมณ์เศร้าและเวียบเหงาของผู้เขียนในเร่องด้วย

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

อรรถยา สุวรรณระดา

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย