การรับรู้ข่าวสาร ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของเยาวชนใน 4 จังหวัดนำร่อง

Main Article Content

ศรัณย์ธร ศศินากรแก้ว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเยาวชนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี นครพนม นครนายก และพังงา รวมทั้งสิ้น 400 คน ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ กับแกนนำเยาวชนใน 4 จังหวัดข้างต้น รวม 32 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องไข้หวัดนก 2) ความรู้ที่ได้รับเรื่องการป้องกันไข้หวัดนก 3) พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก 4) ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ 5) ความคิดเห็นที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ 6) เปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก และความพึงพอใจในระหว่างกลุ่มจังหวัด เพศ อายุ และระกับชั้นเรียน และ 7)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารไข้หวัดนก ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนก และความพึงพอใจ โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ T-test, F-test (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Product Mament Correlation Coefficient) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้กำหนดประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าและวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยการพรรณนาผลการวิจัย พบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างได้รับรู้ข่าวสารไข้หวัดนกจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และจัดอยู่ในระดับ "มาก" รองลงมาคือครูและหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในระดับ "มาก" เช่นเดียวกัน

2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องไข้หวัดนก จากการรับสื่อต่างๆ ในระดับ "มาก"

3. กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดมีพฤติกรรมในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกอย่างถูกต้อง "เป็นประจำ"

4.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจและได้ใช้ประโยชน์จากสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ "เป็นประจำ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และนำไปเผยแพร่ให้กับคนในครอบครัวและชุมชน

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ศรัณย์ธร ศศินากรแก้ว

ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์