อุปลักษณ์และนามนัยในการใช้คำเรียกสี เพื่อแสดงความรู้สึกในภาษาไทย Colors as Conceptual Metaphors and Metonymies of Feelings in Thai

Main Article Content

ยิ่งยศ Yingyot กันจินะ Kanchina

Abstract

บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาอุปลักษณ์และนามนัยในการใช้คำเรียกสีเพื่อแสดงความรู้สึกในภาษาไทยโดยศึกษาจากคำเรียกสี 5 คำ ได้แก่ แดง เขียว ดำ ขาว และชมพู เพื่อตอบคำถามว่าคำเรียกสีทั้ง 5 คำนี้แสดงอุปลักษณ์และนามนัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของคนไทยอย่างไร ผลการศึกษาพบว่าคำเรียกสีทั้ง 5 คำมีลักษณะการปรากฏและหน้าที่ในการแสดงความรู้สึกทั้งเหมือนและต่างกัน โดยพบว่าคำเรียกสีจะปรากฏร่วมกับคำเรียกอวัยวะร่างกาย ในการแสดงความรู้สึกซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ในส่วนของศีรษะเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตามพบว่าอวัยวะที่อยู่นอกเหนือศีรษะก็สามารถใช้ร่วมกับคำเรียกสีเพื่อแสดงความรู้สึกได้เช่นเดียวกัน ด้านความถี่ของการปรากฏนั้นพบว่าสีแดงถูกใช้เพื่อแสดงความรู้สึกมากที่สุด ตามด้วยสีเขียว สีดำ สีขาว และสีชมพู การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าคำเรียกสี ม่วง สามารถใช้เพื่อแสดงความรู้สึกได้เช่นกัน ด้านหน้าที่ของอุปลักษณ์และนามนัยของการใช้คำเรียกสีเพื่อแสดงความรู้สึกในภาษาไทยคือ ช่วยให้เจ้าของภาษาสามารถเชื่อมโยงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเข้ากับสีที่ตนรับรู้ ช่วยให้มโนภาพที่เกิดขึ้นทั้งในใจของผู้ส่งสารและผู้รับสารชัดเจนขึ้น และยังช่วยเน้นย้ำความรู้สึกด้วยการใช้คำเรียกสีร่วมกับคำเรียกสีอื่นและคำขยาย

This article aims to study how native Thai speakers use color terms as conceptual metaphors and metonymies of feelings. The target color terms are red, green, black, white, and pink. Results show that native Thai speakers use color terms together with body part terms to express feelings. Most of body parts are part of the head, but the body parts which are not part of the head are able to be used to express feelings as well. From the present study, ‘red’ is the most frequently used and the most varied in expressing feelings, followed by ‘green’, ‘black’, ‘white’, and ‘pink’, respectively. Moreover, it is found that ‘violet’ is also used to express the feelings. Regarding the functions of the colors as conceptual metaphors and metonymies of feelings in Thai, their functions are (1) to convey feelings, (2) to construct the conceptual domain for speaker and hearer, and (3) to intensify the feelings.


Article Details

Section
Research Articles