อาหารไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา

Main Article Content

Sukanya Sujachaya

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบันทึกหลักฐานเกี่ยวกับอาหารไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา


ผลการศึกษาพบว่า หลักฐานเกี่ยวกับอาหารไทยไม่มีบันทึกไว้ในวรรณคดีสมัยอยุธยา ไม่มีขนบการพรรณนาด้านอาหารการกิน แต่กลับพบอยู่ในบันทึกของชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาค้าขายและเข้ามาเจริญสัมพันธ์ทางการทูตตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมลงมา จากบันทึกดังกล่าวแสดงว่าสยามมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์เพราะเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ชาวสยามกินข้าวกับปลาเป็นอาหารหลักพร้อมน้าพริกผักสดต่างๆ มีผลไม้มากมาย ในเกาะเมืองอยุธยามีตลาดสดขายของเช้าเย็นถึง 61 แห่ง มีร้านขายขนมของชาวจีนและแขก


นอกจากนี้ชาวอยุธยายังมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ฟุ่มเฟือย เหตุเพราะมีความอุดมสมบูรณ์อยู่รอบตัวจึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลหรือต้องนามากล่าวถึง แต่พฤติกรรมเช่นนี้จะเปลี่ยนแปลงไปหลังสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310

Article Details

Section
Cover Story
Author Biography

Sukanya Sujachaya

Mahidol University

References

กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. (2545). (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กองวรรณคดี. (2495). หนังสือที่แต่งครั้งกรุงศรีอยุธยา. ใน วารสารศิลปากร 5 (5 ,6) 6 (1).

คำให้การขุนหลวงหาวัด. (2547). กรุงเทพฯ: โครงการเลือกสรรหนังสือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2516). พระราชพิธีสิบสองเดือน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. (2512) ทวาทศมาสโคลงดั้น. พระนคร: โรงพิมพ์ศิริมิตรการพิมพ์.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2547). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น: ลักษณะร่วมและอิทธิพล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุมนุมเรื่องพระลอ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (2547). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ดิเรก กุลศิริสวัสดิ์. (2525). สำเภากษัตริย์สุลัยมาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์. (เอกสารอัดสำเนา)

ตุรแปง, ฟรังซัวส์ อังรี. (2522). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉบับตุรแปง (สมศรี เอี่ยมธรรม, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

กรมศิลปากร.

ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. (2542). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์

กรมศิลปากร.

ประชุมพงศาวดาร เล่ม 28 เรื่องจดหมายเหตุของราชทูตฝรั่งเศส ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและตำนานเมืองระนอง. (2511). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

พระบวรราชนิพนธ์ เล่ม 1. (2545). กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม): จดหมายรายวันทัพ, อภินิหารบรรพบุรุษและเอกสารอื่น. (2551). นนทบุรี: ศรีปัญญา.

รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟานฟลีต (วันวลิต). (2547).(พิมพ์ครั้งที่ 2) (นันทา วรเนติวงศ์, ผู้แปล).กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

เริงวุฒิ มิตรสุริยะ. (2542). ฝรั่งบันทึกสยาม. กรุงเทพฯ: ยิปซี.

ลาลูแบร์, ซีมอง เดอ. (2548). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

(สันต์ ท. โกมลบุตร, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

วิบูล วิจิตรวาทการ. (2544). แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุคส์.

สมศรี เอี่ยมธรรม, ผู้แปล. (2541). “เรื่องราวเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยามในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมและสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง” ใน รวมเรื่องแปลหนังสือและเอกสารทางประวัติศาสตร์ชุดที่ 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า และคนอื่นๆ. (2551). โบราณสถานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา กับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์ ฉบับชำระครั้งที่ 2 และ ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา. (2550). กรุงเทพฯ: ต้นฉบับ.