การศึกษาเพลงกล่อมเด็กของกลุ่มชาติพันธุ์เจ๊ะเห

Main Article Content

สุภาพร ฉิมหนู
พูนพิศ อมาตยกุล
ณัฐชยา นัจจนาวากุล

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับบทเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำเนียงเจ๊ะเห (ตากใบ-ตุมปัต) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางวัฒนธรรม ลักษณะดนตรี รูปแบบและคำร้องของเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำเนียงเจ๊ะเห (ตากใบ-ตุมปัต) ขอบเขตพื้นที่การศึกษา คือ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส และเขตตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ประชากรเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ข้างต้นและสามารถร้องเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำเนียงเจ๊ะเห (ตากใบ-ตุมปัต) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลบทเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำเนียงเจ๊ะเห (ตากใบ-ตุมปัต) คือ นำมาบันทึกเป็นโน้ตสากล วิเคราะห์โครงสร้างและฉันทลักษณ์ทางด้านดนตรีตามหลักทฤษฎีด้านดนตรีวิทยาและอธิบายแบบพรรณนาความ
ผลการศึกษาพบว่า ฉันทลักษณ์ของเพลงกล่อมเด็กสำเนียงเจ๊ะเห (ตากใบ-ตุมปัต) มากกว่าครึ่งมีลักษณะคล้ายกับร่ายยาวใช้คำเรียงวรรคละ 4-5 พยางค์ นอกจากนั้นมีฉันทลักษณ์คล้ายเพลงชาน้องและคล้ายกาพย์ยานี บทเพลงกล่อมเด็กสำเนียงเจ๊ะเห (ตากใบ-ตุมปัต) เป็นเพลงท่อนเดียว ลักษณะการร้องเป็นแบบ 1 คำร้อง ต่อ 1 เสียงโน้ต ทำนองเพลงประกอบด้วย 3-4 เสียงโน้ต มีอัตราความเร็วจังหวะปานกลาง กลุ่มเสียงที่พบ (1) กลุ่มโน้ต 3 เสียง คือ Bb Gb Ab และ C Eb F (2) กลุ่มโน้ต 4 เสียงคือ D F G A เนื้อหาสามารถแบ่งได้เป็น 6 หมวด คือ (1) สะท้อนภาพวิถีชีวิตและค่านิยมในสังคม (2) การเกี้ยวพาราสี (3) ปริศนาทายคำเพื่อความสนุกสนาน (4) การตัดพ้อต่อว่า (5) ความชื่นชมในธรรมชาติ และ (6) ความเชื่อประเพณีและศิลปวัฒนธรรม

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของชาติ. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

คำแก้ว พวงแก้ว. (2560, 7 มีนาคม). บ้านทรายขาว ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. [บทสัมภาษณ์].

แดง จันทร์สืบ. (2560, 7 มีนาคม). บ้านวัดบางน้อย ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. [บทสัมภาษณ์].

ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2517). ไทยในมาเลเซีย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

นุ้ย ดำกระเด็น. (2560, 7 มีนาคม). บ้านปลักช้าง ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. [บทสัมภาษณ์].

พูนพิศ อมาตยกุล. (2529). ดนตรีวิจักษ์: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดนตรีไทย เพื่อความชื่นชม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รักษ์สิปป์.

เยาวเรศ สิริเกียรติ. (2521). เพลงกล่อมเด็กของไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วันเนาว์ ยูเด็น. (2525). เพลงชาน้อง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. (2550). เมื่อฟ้าหม่น เจดีย์หัก ที่ปักษ์ใต้. กรุงเทพฯ: สถาบันอิศรา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย.

หลาน สว่างวงศ์. (2560, 11 มีนาคม). บ้านนกอู๊ก เขตตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย. [บทสัมภาษณ์].